ข่าว forex

เป็นเหตุการณ์ที่สำคัญทั้งในและนอกประเทศที่มีผลกระทบต่อตลาด อีกอย่างข่าว forex ทำให้เราสามารถวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของกราฟได้ไม่ว่าจะเทรดคู่เงินหรือเทรดทองคำก็ตาม ในบทความ admin จะทำการมาแชร์ให้กับเพื่อนๆ ได้รู้และรับทราบบ่อยๆ

Commerzbank ประเมิน “ความต้องการทองคํายังคงลดลง” (30 สิงหาคม 2567)

ราคาทองคํากําลังไต่ขึ้นเข้าระดับสูงสุดตลอดกาลของสัปดาห์ที่แล้วและยังอาจสามารถไต่ระดับสูงขึ้นได้อีกเล็กน้อย แต่โมเมนตัมขาขึ้นดูเหมือนจะหายไปบ้างในตอนนี้  Barbara Lambrecht นักวิเคราะห์ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ของ Commerzbank ตั้งข้อสังเกตไว้เช่นนั้น

โมเมนตัมขาขึ้นดูเหมือนจะหายไป

“ท้ายที่สุดแล้ว ความคาดหวังบางอย่างในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้ถูกประเมินราคาเอาไว้ ซึ่งเมื่อมองแวบแรก ผลกระทบของระดับราคาที่สูงต่อความต้องการทองคําทางกายภาพในจีน ซึ่งเป็นตลาดขายทองคำที่ใหญ่ที่สุดดูเหมือนจะลดลงบ้าง จากการนําเข้าทองคําจากฮ่องกงเพิ่มขึ้น 6% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ในแง่ตัวเลขสุทธิ กล่าวคือ ที่ไม่รวมการส่งออก โดยเพิ่มขึ้นมากถึง 17%”

“อย่างไรก็ตาม ในแง่ตัวเลขสัมบูรณ์ ระดับดังกล่าวยังคงต่ำเมื่อเทียบกับการเข้าซื้อเฉลี่ยในช่วงสามเดือนแรกที่ 31 ตันหรือ 26 ตันสุทธิ  ซึ่งแน่นอนว่าเป็นเพราะธนาคารกลางจีนไม่ได้ทําการเข้าซื้ออีกต่อมานับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม”

“ความสนใจในการเข้าซื้อของนักลงทุน ETF ก็กําลังฟื้นตัวเช่นกัน แม้ว่าจะยังค่อนข้างลังเลบ้างก็ตาม ท้ายที่สุดแล้ว  การถือครองทองคำตอนนี้สูงกว่าระดับต่ำสุดในรอบหลายปีในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมเกือบ 3%  และสูงเท่ากับรายงานล่าสุดในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์”


ตลาดมีความตื่นตระหนกต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ – Commerzbank (5 สิงหาคม 2567)

นักกลยุทธ์ตลาดสกุลเงินของ Commerzbank กล่าวว่ารายงานการจ้างงานของสหรัฐฯ ในวันศุกร์เป็นที่พูดถึงในหมู่นักวิจารณ์มากขึ้น พวกเขากล่าวว่าเฟดพลาดเวลาที่เหมาะสมในการลดอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกไปแล้ว การเติบโตของตลาดแรงงานในเดือนกรกฎาคมอ่อนแอกว่าที่คาดไว้มาก ตัวเลขของเดือนมิถุนายนถูกปรับลง และอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นจาก 4.1% เป็น 4.3% ซึ่งในที่สุดก็ทําให้เกิดการเคลื่อนไหวตามกฎของ Sahm Michael Pfister

การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดสองครั้งในเดือนกันยายนและพฤศจิกายน

“การประกาศตัวเลขเศรษฐกิจตามมาด้วยการเคลื่อนไหวที่วุ่นวาย ตลาดขยับคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างมีนัยสําคัญ และตอนนี้คาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยมากกว่า 4 ครั้งที่ 25 จุดเบสิสภายในสิ้นปีนี้ ในทางปฏิบัติ ตลาดกําลังเอนเอียงไปทางการปรับลดอัตราดอกเบี้ยสองครั้งครั้งละ 50 จุดเบสิสในเดือนกันยายนและพฤศจิกายน โดยได้รับแรงหนุนจากการเปลี่ยนแปลงการคาดการณ์ของธนาคารรายใหญ่ มีการพูดคุยเกี่ยวกับการลดดอกเบี้ยฉุกเฉินก่อนการประชุมในเดือนกันยายน”

“โชคดีที่หลังจากสัปดาห์ที่น่าตื่นเต้นนี้ ตลาดลงทุนอาจจะเงียบสงบลงกว่านี้สองสามวัน หวังว่าเมื่อความตื่นเต้นลดลงเล็กน้อย นักลงทุนในตลาดจะตระหนักว่าความคาดหวังที่มีนั้นไปไกลเกินไปเล็กน้อย เราไม่ได้บอกว่ารายงานงานตัวเลขที่ออกมาไม่ได้ทําให้เรากังวล เห็นได้ชัดว่าตลาดแรงงานอ่อนแอลงในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ซึ่งไม่ได้เป็นลางดีสําหรับการเติบโตของสหรัฐฯ ที่จะมีความได้เปรียบ”

“เราพบว่ามันยากที่จะจินตนาการว่าเฟดจะลดอัตราดอกเบี้ยเกือบ 150 จุดเบสิสภายในเดือนมกราคมตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ เศรษฐกิจจะต้องอ่อนแอลงอย่างมากเจนทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น และสําหรับผู้ที่กําลังพูดถึงกฎ Sahm เป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การจดจําว่ากฎนี้มักจะถูกพูดถึงในช่วงเวลาที่มีคนตกงาน ไม่ใช่ในช่วงเวลาที่การเติบโตของตลาดแรงงานในระดับปานกลาง”


EURUSD: เจองานยาก – Commerzbank (30 กรกฎาคม 2567)

Antje Praefcke นักยุทธศาสตร์ตลาดสกุลเงินของ Commerzbank กล่าวว่าคนทั้งโลกกําลังรอดูว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะตัดสินใจอย่างไร และประธานเฟดนายเจอโรม พาวเวลล์ (Jerome Powell) จะพูดอะไร (หรือไม่พูด) ในการแถลงข่าวหลังกาประชุม

ตลาดเคลื่อนไหวอย่างสงบก่อนการประชุมเฟด

“แทบจะไม่มีอะไรเกิดขึ้นมากนักกับดอลลาร์สหรัฐ (USD) จนกว่าการประชุม FOMC จะเกิดขึ้น ตอนนี้ความสงบได้กลับมาอีกครั้งหลังจากการเคลื่อนไหวอย่างตื่นเต้นอย่างมากเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นอกจากนี้ รายงานตลาดแรงงานสหรัฐฯ ประจําเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อมูลสำคัญที่มีแนวโน้มที่จะทําให้ดอลลาร์เกิดการเคลื่อนไหวอย่างมาก จะประกาศในวันศุกร์”

“ในแง่นี้ ฉันจะวิเคราะห์สั้น ๆ และทำได้เพียงแนะนําให้คุณคิดอีกครั้งว่า EURUSD จะเคลื่อนตัวไปทางใดที่จะทําให้คุณเจ็บปวดมากที่สุด เราได้เน้นย้ำหลายครั้งตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้วว่าตลาดอาจไปไกลเกินไปกับการคาดการณ์ Fed Funds Rate เล็กน้อย ข้อสงสัยแรกดูเหมือนจะเกิดขึ้นแล้ว”

“หากในเย็นวันพรุ่งนี้ สิ่งที่ตลาดคิดกลับผิดคาด (และอาจรวมถึงในวันศุกร์กับตัวเลขรายงานตลาดแรงงานด้วย) USD อาจแข็งแกร่งมากขึ้น และแข็งค่าขึ้นอย่างเห็นได้ชัดมากขึ้น”


XAUUSD และ XAGUSD เสียกำลังขาขึ้น – TDS (12 กรกฎาคม 2567)

นักลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ขแง TDS กล่าวว่าทองคํา (XAUUSD) ปรับตัวสูงขึ้นในวันพฤหัสบดี แม้ว่าเครื่องมือที่ปรึกษาการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ (CTA) กําลังเห็นออเดอร์ขาขึ้นส่วนหนึ่งลดลง สําหรับกองทุนโลหะเงิน (XAGUSD) ชั้นนําของ Shanghai Futures Exchange (SHFE) ได้ลดจำนวนออเดอร์ลงทันที 9,000 ล็อต

คาดว่าอุปสงค์ในเอเชียจะยังคงแข็งแกร่ง

“แม้ว่าทองคําจะเคลื่อนไหวอย่างแข็งแกร่งเมื่อวานนี้ แต่ CTA กําลังเห็นออเดอร์ขาขึ้นบางส่วนลดลง หากจะให้มีออเดอร์ขาขึ้นกลับมามากขึ้น จําเป็นต้องเห็นราคาวิ่งอยู่สูงกว่า 2,437 ดอลลาร์/ออนซ์อย่างสบายๆ ในขณะเดียวกัน ผู้จัดการเงินบางคนอาจปิดออเดอร์ทํากําไรใกล้ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่ข้อมูลเงินเฟ้อที่ต่ำกว่าที่คาดไว้ และข้อมูลการจ้างงานที่อ่อนแอลงได้หนุนความคาดหวังว่าเฟดจะเริ่มการปรับลดดอกเบี้ยในเดือนกันยายน”

“หลักฐานแรกว่าเริ่มมีความสนใจกลับเข้ามาแสดงให้เห็นผ่านออเดอร์ ETF ที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในเดือนกรกฎาคม หลังจากเดือนมิถุนายนที่เคยเห็นการเพิ่มขึ้นรายเดือนครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2023 ในขณะเดียวกัน ทองคําสํารองของจีนทรงตัวเป็นเดือนที่สองติดต่อกัน ท่ามกลางการหยุดซื้อชั่วคราว แต่นักลงทุนระดับแนวหน้าใน SHFE โดยรวมแล้วได้เพิ่มออเดอร์กลับคืนมา ตอกย้ำถึงอุปสงค์ในตลาดเอเชียที่คาดว่าจะยังคงแข็งแกร่ง”

“สําหรับโลหะเงิน หลังจากมีออเดอร์เพิ่มขึ้นอย่างมาก กองทุน SHFE ชั้นนําโโยรวมได้ลดจำนวนออเดอร์ลงทันที 9,000 ล็อตในชั่วข้ามคืน ในขณะที่ CTA อาจทําให้ราคาปรับตัวลดลงต่ำกว่า 30.78 ดอลลาร์/ออนซ์”


ดัชนีดอลลาร์สหรัฐโฟกัส PCE พื้นฐานในสัปดาห์นี้ – OCBC (24 มิถุนายน 2567)

Frances Cheung นักยุทธศาสตร์อัตราดอกเบี้ยของ OCBC กล่าวว่าดัชนีดอลลาร์ (DXY) ปรับตัวขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน PMI เบื้องต้นที่ดีกว่าที่คาดไว้และ ถ้อยแถลงของบรรดาเฟดที่ยังคง hawkish เป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนความแข็งแกร่งของ USD

โมเมนตัมขาขึ้นเล็กน้อยยังคงอยู่

“DXY ล่าสุดอยู่ที่ 105.46 โมเมนตัมขาขึ้นเล็กน้อยในกราฟรายวันยังคงอยู่ ในขณะที่ RSI ปรับตัวเพิ่มขึ้น โอกาสเหวี่ยงไปทางขาขึ้น แนวต้านที่ระดับ 105.75/80 (76.4% fibo)”

“การทะลุขึ้นมาทําให้ 106.20, 106.50 ถูกจับตา แนวรับอยู่ที่ 105.20 (50 DMA), 104.80/90 (61.8% fibo retracement ของจุดสูงสุดเดือนตุลาคมถึงระดับต่ำสุดของปี 2024, 21 DMA) และ 104.50 (200 DMA)”

“เรามีความเห็นว่าช่วงจบครึ่งปีและเดือน (ในปลายสัปดาห์นี้) อาจทำให้ราคามีการเปลี่ยนแปลง การดีเบตชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในวันศุกร์ (9.00 น. SGT) อาจส่งผลกระทบต่อตลาดสกุลเงินและดอกเบี้ยเช่นกัน”


Barkin สมาชิกเฟดเผย “อัตราเงินเฟ้อจะแตะ 2% ด้วยเวลาที่เพียงพอและนโยบายที่เหมาะสม” (13 พฤษภาคม 2567)

นายโธมัส บาร์กิน (Thomas Barkin) ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาริชมอนด์แถลงข่าวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาโดยยืนยันว่า แนวทางการ “อดทนรอ” จากเฟดจะลดอัตราเงินเฟ้อลงสู่ระดับเป้าหมายที่ธนาคารกลางสหรัฐต้องการได้ในที่สุด

ไฮไลท์สําคัญ

เศรษฐกิจในปัจจุบันกำลังเรียกร้องให้ใช้แนวทางที่รอบคอบและอดทน

ด้วยเวลาที่เพียงพอและนโยบายที่เหมาะสม อัตราเงินเฟ้อจะแตะ 2% แน่

ความต้องการตลาดนั้นแข็งแกร่ง และไม่ร้อนแรงจนเกินไป

ผมกําลังคาดการณ์ความคืบหน้าของอัตราเงินเฟ้อที่จะคงอยู่ต่อเนื่อง และขยายวงกว้างขึ้น


Ueda ประธาน BoJ เผย “การร่วงลงของเงินเยนทางเดียวอย่างรวดเร็วเป็นปัจจัยลบต่อเศรษฐกิจ” (8 พฤษภาคม 2567)

Kazuo Ueda ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) กล่าวเมื่อวันพุธว่า การอ่อนค่าลงทางเดียวอย่างรวดเร็วของสกุลเงินเยนญี่ปุ่นเป็นสิ่งที่เราไม่พึงปรารถนา และเป็นปัจจัยลบต่อระบบเศรษฐกิจของญี่ปุ่น

ประเด็นที่สําคัญ

“จะไม่ขอแสดงความคิดเห็นใด ๆ โดยเฉพาะเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของตลาด FX ล่าสุด”

“ถือเป็นสิ่งสําคัญสําหรับการเคลื่อนไหวของตลาด FX ที่จะสะท้อนปัจจัยพื้นฐาน”

“ผลกระทบของการเคลื่อนไหวของตลาด FX แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับขนาด และภาคส่วนของบริษัท”

“การเคลื่อนไหวของตลาด FX เป็นหนึ่งในปัจจัยสําคัญที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและราคา”

“หากความเสี่ยงที่เงินเยนอ่อนค่าจะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในระดับที่สูง เราอาจต้องตอบสนองด้วยนโยบายทางการเงิน”

“เราต้องตระหนักว่าผลกระทบของเงินเยนที่อ่อนค่าต่อระดับอัตราเงินเฟ้ออาจเพิ่มขึ้น เมื่อระดับค่าจ้างขององค์กรและพฤติกรรมที่มีผลต่อการปรับราคาได้เปลี่ยนไป

ปฏิกิริยาของตลาด

ความคิดเห็นเหล่านี้ยังไม่สามารถกระตุ้นปฏิกิริยาที่มีนัยสําคัญในคู่ USD/JPY ในขณะที่รายงานข่าวนี้ คู่สกุลเงินดังกล่าวเพิ่มขึ้น 0.4% ในวันนี้ อยู่ที่ 155.33


กองทุนบำเหน็จบำนาญรัฐบาลไทยหันมาซื้อทองคำเพิ่มเพื่อลดความเสี่ยง (1 พฤษภาคม 2567)

รัฐบาลไทยต้องการลดความเสี่ยงในกองทุนบำเหน็จบำนาญ โดยการหันมาถือทองคำและน้ำมันแทน

นายทรงพล ชีวปัญญาโรจน์ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เขาบอกกับบางกอกโพสต์ว่า การจัดการกองทุนกลายเป็นเรื่องยากขึ้นเนื่องจากปัจจัยหลายประการ ซึ่งรวมถึงความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ การเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงในหลาย ๆ ประเทศ และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับทิศทางของอัตราดอกเบี้ย

ในปีนี้ เราจึงปรับสัดส่วนการลงทุนโดยการลดสินทรัพย์ที่อาจได้รับผลกระทบจากสงคราม และเพิ่มการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกอื่น ๆ อย่างเช่นทองคำและน้ำมันซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงเหล่านี้ได้

คุณทรงพลกล่าวว่า แม้ว่ากองทุนจะยังคงลงทุนในตลาดทุนต่อไปแต่จะพยายามลดความเสี่ยงในตลาดหุ้นให้เหลือน้อยที่สุด เขากล่าวถึงความไม่แน่นอนของทิศทางอัตราดอกเบี้ยโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา

ธนาคารกลางสหรัฐได้รับการคาดหวังอย่างกว้างขวางว่าจะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงฤดูร้อนนี้ แต่อัตราเงินเฟ้อที่ติดแน่นอยู่ได้บั่นทอนความหวังเหล่านั้นไป

ความเห็นของคุณทรงพลระบุว่า เขาไม่เข้าใจผลกระทบของนโยบายทางการเงินต่อตลาดสหรัฐฯ เขากล่าวว่าความล่าช้าในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยบ่งบอกว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ “ค่อนข้างดี” และตลาดหุ้นสหรัฐฯ “มีเสถียรภาพที่ดีหรือดีขึ้น”  แต่ในความเป็นจริงแล้ว ความล่าช้าในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยไม่ได้หมายทำงานแบบนั้น โดยหมายความว่าธนาคารกลางสหรัฐไม่สามารถประกาศชัยชนะเหนืออัตราเงินเฟ้อได้อย่างสมเหตุสมผล และต้องคงอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นต่อไปอีกนานขึ้นเพื่อพยายามกดดันอัตราเงินเฟ้อให้เข้าใกล้เป้าหมาย 2 เปอร์เซ็นต์ที่ทุกธนาคารกลางใฝ่ฝัน

ความจริงก็คือเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ไม่ได้แข็งแรง โดยกำลังแสดงสัญญาณของสภาวะเศรษฐกิจถดถอยอยู่

แม้ว่าจะมีความสับสนของคุณทรงพลอยู่บ้าง แต่เขาก็ฉลาดในการจัดสรรการลงทุนไปกับสินค้าโภคภัณฑ์ให้มากขึ้น โดยเฉพาะกับทองคำ อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นมีแนวโน้มว่าฟองสบู่ของตลาดหุ้นจะเริ่มยุบตัวลง นอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่เต็มไปด้วยหนี้อีกด้วย ในขณะเดียวกัน ค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงก็จะยังคงผลักดันราคาทองคำ โลหะเงิน และสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ ให้สูงขึ้นต่อไป

อัตราเงินเฟ้อของราคาไม่ได้เป็นเพียงปัญหาในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น แต่ยังมีแนวโน้มที่จะยังคงร้อนแรงทั่วโลกในอนาคตอันใกล้นี้ เช่นเดียวกันกับที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นได้ผ่อนคลายแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ แต่ธนาคารกลางยังไม่ได้ดำเนินการอย่างเพียงพอที่จะรับมือกับการพิมพ์เงินจำนวนมหาศาล (เป็นอัตราเงินเฟ้อ) ในระหว่างการระบาดใหญ่ ในขณะนี้ธนาคารกลางหลายแห่งกำลังดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากขึ้น นั่นหมายถึงอัตราเงินเฟ้อที่จะเพิ่มมากขึ้น โดยในอดีต ทองคำมีการดำเนินการที่ดีในสภาพแวดล้อมที่เงินเฟ้อสูง


BBH ประเมินว่า “ดอลลาร์สหรัฐฯ จะปรับตัวขาขึ้นทีละเล็ก ทีละน้อย” (25 มีนาคม 2567)

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) ปรับตัวสูงขึ้นอย่างแข็งแกร่งในช่วงเวลาที่ผ่านมา ด้านนักเศรษฐศาสตร์ที่ BBH วิเคราะห์แนวโน้มทิศทางของดอลลาร์

แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เป็นเรื่องที่น่ายินดี

USD สามารถขยับสูงขึ้นได้ เพราะเราไม่คาดการณ์ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยถึง 75 bps ในปีนี้

แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เป็นที่น่าพอใจ, สภาวะตลาดการเงินที่ผ่อนคลายอยู่มาก, และการคาดว่า PCE deflator เดือนกุมภาพันธ์จะยังคงติดหนึบอยู่เกินไปที่เฟดจะปรับลดดอกเบี้ยเร็ว ๆ นี้

สิ่งที่น่าสนใจคือ ประธาน Raphael Bostic ประธานเฟดแอตแลนตา (ผู้มีสิทธิโหวตในปี 2024) บ่งชี้ให้เห็นในวันศุกร์ว่า ตอนนี้เขาคาดการณ์ว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพียงครั้งเดียวในช่วง ‘หลังของปีนี้’ แทนที่จะเป็นสองครั้ง  เนื่องจากเขาไม่ค่อยมั่นใจในทิศทางของอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ


การอ่อนค่าของเงินเยนเป็นผลดีต่อศก. ญี่ปุ่นด้วยเหตุผลสามประการ (11 มีนาคม 2567)

ตั้งแต่ต้นปี 2021 เงินเยนญี่ปุ่น (JPY) อ่อนค่าลงอย่างมากเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ (USD) และยูโร (EUR) นักวิเคราะห์จาก Natixis อธิบายว่าเหตุใดการที่เงินเยนอ่อนค่าจึงดีต่อญี่ปุ่น

ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นมีแรงจูงใจเพียงเล็กน้อยที่จะได้รับค่าเงินเยน แข็งค่าขึ้น

นโยบายการเงินแบบขยายตัวของญี่ปุ่นในขณะที่ประเทศในกลุ่ม OECD อื่นๆ ได้ใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมาตั้งแต่ปี 2022 ทําให้เงินเยนอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว การอ่อนค่าของเงินเยนนั้นดีต่อเศรษฐกิจของญี่ปุ่น: การอ่อนค่าฯ กําลังช่วยนําอัตราเงินเฟ้อกลับสู่เป้าหมาย 2% การอ่อนค่าช่วยกระตุ้นการส่งออก เนื่องจากญี่ปุ่นมีสินทรัพย์ภายนอกจํานวนมากส่วนใหญ่เป็นดอลลาร์และยูโร การอ่อนค่าของเงินเยนจึงทำให้สินทรัพย์เหล่านี้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสินทรัพย์ที่อยู่ต่างประเทศ แต่แลกเปลี่ยนด้วยเงินเยน

จากปัจจัยที้ได้อานิสงส์เชิงบวกเหล่านี้จากการอ่อนค่าของเงินเยน เราไม่ควรคาดหวังว่าญี่ปุ่นจะเปลี่ยนไปใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น อย่างมากที่สุด เราควรคาดว่าธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นจะปรับขึ้นดอกเบี้ยในเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น


ING คาดการณ์ราคาทองคำ XAU/USD จะยังคงผันผวนในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้านี้ (5 มีนาคม 2567)

การแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐและการคุมเข้มของธนาคารกลางได้กดดันตลาดทองคําเกือบตลอดทั้งปีที่แล้ว โดย XAU/USD รอเห็นความชัดเจนเกี่ยวกับทิศทางการผ่อนคลายทางนโยบายของเฟด

นโยบายของเฟดยังคงเป็นกุญแจสําคัญสําหรับตลาดทองคํา

นโยบายของธนาคารกลางสหรัฐจะยังคงเป็นกุญแจสําคัญสําหรับแนวโน้มราคาทองคําใน 2-3 เดือนข้างหน้า

ตลาดสวอปส่งสัญญาณว่านักลงทุนไม่เห็นโอกาสมากนักที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยจนกว่าจะถึงเดือนมิถุนายน โดยนักเศรษฐศาสตร์สหรัฐของเราเห็นด้วย ปัจจัยนี้จะสนับสนุนสกุลเงินดอลลาร์และกดดันราคาทองคําในระยะสั้น

เราคาดว่าราคาทองคําจะยังคงผันผวนในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า เนื่องจากตลาดตอบสนองต่อปัจจัยขับเคลื่อนตลาดระดับมหภาค การติดตามเหตุการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ และแผนนโยบายอัตราดอกเบี้ยของเฟด


EURGBP ยังคงเป็นเทรนด์ขาลงไปวิ่งใกล้ 0.8550 ในวันที่ภาพรวมศก. UK ดูดีขึ้น (23 กุมภาพันธ์ 2567)

  • EURGBP ยังคงเป็นขาลง ราคาลดลงไปวิ่งต่ำกว่า 0.8550 เล็กน้อยเพราะสหราชอาณาจักรดูเหมือนจะพ้นจากภาวะถดถอย
  • นางสวาติ ดินกรา หนึ่งในบอร์ด BoE รับทราบถึงความเสี่ยงด้านลบจากการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูง
  • แนวโน้มเศรษฐกิจของยูโรโซนยังคงอ่อนแอเนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในเยอรมนีและฝรั่งเศสไม่ดี

ในตลาดลอนดอนวันศุกร์ คู่ EURGBP ยังคงปรับตัวลดลงมาที่ประมาณ 0.8550 คู่ EURGBP อยู่ภายใต้แรงกดดันเพราะแนวโน้มเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรดีขึ้น สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะนักลงทุนมีความหวังว่าธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในอนาคตอันใกล้

เมื่อวันพฤหัสบดี S&P Global/CIPS รายงานว่าความเชื่อมั่นของธุรกิจดีขึ้นเพราะยอดสั่งซื้อที่แข็งแกร่ง หน่วยงานดังกล่าวให้ความเห็นคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะเติบโต 0.2%-0.3% ในไตรมาสแรกของปี 2024 ซึ่งช่วยคลายความกลัวที่มีต่อภาวะถดถอยทางเทคนิคที่เห็นได้ชัดในช่วงครึ่งหลังของปี 2023 อนึ่ง เศรษฐกิจจะถูกพิจารณาว่าเข้าสู่ในภาวะถดถอยทางเทคนิคเมื่อมีการเติบโตที่ลดลงเป็นเวลาสองไตรมาสติดต่อกัน

ในขณะเดียวกัน ผู้กําหนดนโยบายของ BoE ยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรขาลงเพราะการปรับลดอัตราดอกเบี้ยล่าช้า นางสวาติ ดินกรา (Swati Dhingra) ผู้กําหนดนโยบายของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ซึ่งโหวตให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมนโยบายครั้งล่าสุดกล่าวว่าการตัดสินใจที่ล่าช้าเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนั้นมาจากมาตรฐานค่าครองชีพ

ในด้านยูโรโซน กิจกรรมภาคโรงงานในเศรษฐกิจเยอรมันและฝรั่งเศสยังคงเป็นความกังวลที่สําคัญ ในขณะที่ภาคส่วนอื่นของยูโรโซนยังมีภาพของการเติบโต ความตึงเครียดในทะเลแดงที่ทวีความรุนแรงขึ้นยังคงส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ กดดันให้ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยก่อนกําหนด

อย่างไรก็ตาม นายโยอาคิม นาเจล (Joachim Nagel) เจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายของธนาคารกลางยุโรป (ECB) และประธานธนาคารกลางเยอรมัน (Bundesbank) กล่าวเมื่อวันศุกร์ว่า “ยังเร็วเกินไปที่จะลดอัตราดอกเบี้ย แม้ว่าการเคลื่อนไหวล่าสุดสําหรับบางคนดจะดูน่าดึงดูดก็ตาม” โยอาคิมเสริมว่าช่วงเวลาที่อัตราเงินเฟ้อลดลงเร็วจบแล้ว และคาดว่าจากนี้จะเป็นการชะลอตัว


 

นักวิเคราะห์ของ Commerzbank มอง “การแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ อาจดำเนินต่อไปสักระยะ” (15 กุมภาพันธ์ 2567)

ดอลลาร์สหรัฐ (USD) พุ่งสูงขึ้นหลังจากรายงานตัวเลขเงินเฟ้อที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯ และนักเศรษฐศาสตร์จาก Commerzbank วิเคราะห์แนวโน้มของสกุลเงินดอลลาร์ ดังนี้

เฟดมีแนวโน้มที่จะยังคงระแวดระวังในขณะนี้

เฟดมีแนวโน้มที่จะยังคงระแวดระวังในขณะนี้ โดยไม่คํานึงถึงการผิดคาดที่เกิดขึ้นในวันอังคาร แน่นอนว่ารายงานนี้อาจเปลี่ยนแปลงไปได้อย่างรวดเร็ว หากอัตราเงินเฟ้อลดลงอย่างรวดเร็วหรือหากเศรษฐกิจที่แท้จริงเผชิญปัญหาใด ๆ  แต่นั่นจะต้องการข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก

และตัวเลขยอดค้าปลีกในวันนี้เองก็ไม่น่าจะเพียงพอที่จะสั่นคลอนมุมมองภาพรวมของเฟด ด้วยเหตุนี้ การแข็งค่าของ USD จึงอาจคงอยู่ต่อไปได้อีกระยะหนึ่ง


แรงวิ่งขึ้นเร็วของ USDCAD กำลังเสียโมเมนตัม – Scotiabank (14 กุมภาพันธ์ 2567)

ดอลลาร์แคนาดาปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยในวันนี้ นักเศรษฐศาสตร์จาก Scotiabank วิเคราะห์แนวโน้ม USDCAD เอาไว้ดังนี้

การขึ้นอย่างต่อเนื่องเหนือ 1.3450 จะเปิดประตูให้ราคาได้ขึ้นต่อไปยัง 1.3625

สัญญาณราคาระยะสั้นบ่งชี้ว่าการผลักดัน USD ให้สูงขึ้นอย่างรวดเร็วกําลังสูญเสียโมเมนตัมไปบ้าง แต่ขาขึ้นของ USD ยังคงมีอยู่บริเวณแนวต้านเดิมที่ 1.3540 ซึ่งตอนนี้ทําหน้าที่เป็นแนวรับของ USD

การปรับตัวลดลงของ USDCAD กลับมาที่จุดต่ำสุดที่ 1.3500 จะลดขาขึ้นของ USD ในระยะสั้นต่อไป อย่างไรก็ตาม การขึ้นอย่างต่อเนื่องเหนือ 1.3450 จะเปิดประตูให้ราคาได้ขึ้นต่อไปยัง 1.3625


หุ้นสหรัฐฯ เปิดตลาดด้วยการปรับตัวต่ำลง จับตาข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐฯ (13 กุมภาพันธ์ 2567)

S&P 500 ฟิวเจอร์สลดลง 0.43% ดาวโจนส์ฟิวเจอร์สลดลง 0.19% และ Nasdaq ฟิวเจอร์สลดลง 0.77%

S&P 500 (SPX) ลดลง 0.1% ในวันจันทร์ Dow Jones (DJIA) เพิ่มขึ้น 0.33% และ Nasdaq (IXIC) ลดลง 0.30%

คาดการณ์ข้อมูล CPI ของสหรัฐฯ: คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน 3.7% และอัตราเงินเฟ้อทั่วไป 2.9%

ข้อควรรู้ก่อนตลาดหุ้นสหรัฐฯ เปิด

  • ในวันจันทร์ หุ้นกลุ่มสาธารณูปโภคเป็นภาคส่วนหลักที่ทําผลงานได้ดีที่สุดใน S&P 500 โดยเพิ่มขึ้น 1.14% ในวันนั้น ขณะที่หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีร่วงลง 0.77%
  • หุ้น V.F. Corp (VFC) เพิ่มขึ้น 14% เป็น 17.43 ดอลลาร์ในฐานะผู้ทํากําไรสูงสุดของการซื้อขายในวันแรกของสัปดาห์ หุ้นที่ปรับตัวลดลงมากที่สุดคือ Motorola Solutions Inc. (MSA) ร่วงลงกว่า 3.2%
  • ผลสํารวจความคาดหวังของผู้บริโภคล่าสุดจากธนาคารกลางสหรัฐฯ สาขานิวยอร์กแสดงให้เห็นเมื่อวันจันทร์ว่าการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อหนึ่งปีของผู้บริโภคสหรัฐฯ ทรงตัวที่ 3%
  • สํานักงานสถิติแรงงานสหรัฐ (BLS) ประกาศเมื่อวันศุกร์ว่าได้ปรับข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) สําหรับเดือนธันวาคม (MoM) ลดลงเป็น 0.2% จาก 0.3%
  • BLS จะประกาศข้อมูล CPI เดือนมกราคมก่อนตลาดลงทุนสหรัฐฯ ในวันอังคารเปิดทำการ CPI ทั่วไป (YoY) คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 2.9% ต่อปี ในอัตราที่ลดลงกว่าเดือนธันวาคมที่ 3.4% ดัชนี CPI พื้นฐาน (ซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานที่ผันผวน) คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 3.7%
  • ดัชนีความผันผวน CBOE (.VIX) เพิ่มขึ้น 7.7% ในวันจันทร์และเพิ่มขึ้นมากกว่า 1% ในขณะที่เขียนข่าวนี้ในวันอังคาร
  • นางลอรี โลแกน ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาดัลลัส กล่าวว่า ไม่มีความเร่งด่วนในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย โลแกนยอมรับว่ามี “ความคืบหน้าอย่างมาก” ในการลดอัตราเงินเฟ้อ แต่ตั้งข้อสังเกตว่าเธอต้องการเห็นหลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อเพื่อยืนยันว่าความคืบหน้านั้นยั่งยืน
  • Airbnb Inc. (ABNB) และ MGM Resorts International (MGM) เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนําที่จะประกาศรายงานผลประกอบการหลังตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในวันอังคารปิดทำการ
  • ในช่วงปลายสัปดาห์ สหรัฐฯ จะมีการประกาศข้อมูลยอดค้าปลีก, การผลิตภาคอุตสาหกรรมและดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนมกราคม

EURUSD จะจบไตรมาสที่ 2 ที่ไหนสักแห่งใกล้ 1.1000 – ING (12 กุมภาพันธ์ 2567)

เป็นการเริ่มต้นปีในตลาด FX ที่ค่อนข้างเงียบเหงา นักเศรษฐศาสตร์จาก ING วิเคราะห์แนวโน้ม EURUSD เอาไว้ดังนี้

คาดว่า EURUSD จะจบปี 2024 ที่ 1.1500

ข้อสงสัยเกี่ยวกับเวลาและความเร็วในการดำเนินวัฏจักรการผ่อนคลายทางการเงินของธนาคารกลางมีส่วนทําให้ระดับความผันผวนและการหาผลตอบแทนลดลง

สมมติว่าเฟดกําลังเตรียมที่จะลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนพฤษภาคม/มิถุนายน นั่นน่าจะทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นและยาวของสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น น่าจะเป็นผลบวกต่อสกุลเงินที่มีมูลค่าอ้างอิงกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่เช่นยูโร

เรายังคงคาดการณ์ว่า EURUSD จะจบไตรมาสที่สองที่ใดที่หนึ่งใกล้ 1.1000 และจบปี 2024 ที่ 1.1500


Commerzbank คาดการณ์ราคาทองคำ “XAUUSD ไม่น่าจะขยับออกจากกรอบราคา” (9 กุมภาพันธ์ 2567)

ราคาทองคํากําลังเข้าทดสอบระดับใหม่ ในขณะที่สามารถป้องกันแนวระดับ 2,030 ดอลลาร์ไว้ได้  โดยนักเศรษฐศาสตร์ที่ Commerzbank วิเคราะห์แนวโน้มภาพรวมของตลาดทองคำ ดังนี้

การมองโลกในแง่ดีสําหรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วจะกลับมา หากอัตราเงินเฟ้อออกมาต่ำกว่าที่คาดการณ์เท่านั้น

ทิศทางของตลาดทองคําได้รับแรงหนุนจากความคาดหวังทางนโยบายของอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐฯ  ในปัจจุบันปัจจัยเหล่านี้ยังคงถูกกําหนดโดยถ้อยแถลงของประธานเฟด พาวเวลล์ว่า อัตราเงินเฟ้อจะต้องลดลงอย่างยั่งยืนก่อนจึงจะสามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้

การเห็นผลลัพท์ครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นในวันอังคารหน้า เมื่อจะมีการเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ในเดือนมกราคม อย่างไรก็ตาม การมองโลกในแง่ดีสําหรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วจะกลับมา หากอัตราเงินเฟ้อออกมาต่ำกว่าที่คาดการณ์เท่านั้น เราไม่คาดการณ์ว่าเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้น ดังนั้นตลาดทองคําจึงไม่น่าจะขยับออกจากกรอบการซื้อขายที่ดีระหว่างระดับ $2,050 ถึง $2,000 ไปได้


MUFG คาด USD/JPY “เงินเยนไม่น่าจะอ่อนค่าลงต่อไปนักในระยะสั้น” (8 กุมภาพันธ์ 2567)

ค่าเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) อ่อนค่าลง และส่งผลให้ USD/JPY ทะลุระดับสูงสุดของปีนี้ที่ 148.89 ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ โดยนักเศรษฐศาสตร์จาก MUFG Bank วิเคราะห์แนวโน้มภาพรวมของคู่เงินนี้ ดังนี้

JPY จะดีดตัวขึ้นเมื่อตลาดมุ่งหน้าสู่ไตรมาสที่ 2

BoJ กําลังเตรียมผู้เข้าร่วมตลาดสําหรับการออกจากแผนอัตราดอกเบี้ยติดลบ แต่ไม่ได้มีการแสดงความเร่งรีบที่จะบ่งชี้ว่า การปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกจะดำเนินการในเดือนมีนาคมหรือไม่ เหตุการณ์ยังคงสอดคล้องกับมุมมองแนวโน้มกรณีพื้นฐานของเราสําหรับการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกที่จะเกิดขึ้นในเดือนเมษายน แต่เรารับรู้ว่าความเสี่ยงของการออกจากนโยบายนี้เร็ว BoJ ในเดือนมีนาคมได้เพิ่มขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงในการสื่อสารของ BoJ นับตั้งแต่การประชุมครั้งล่าสุดในเดือนมกราคม

เรายังคงไม่เชื่อว่าเงินเยนจะอ่อนค่าลงต่อไปอีกในระยะเวลาอันใกล้นี้ และยังคงคาดว่าเงินเยนจะดีดตัวขึ้นเมื่อตลาดมุ่งหน้าสู่ไตรมาสที่ 2 เนื่องจากในที่สุด BoJ ก็ต้องดำเนินการเพื่อออกจากแผนนโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบ ตามสมมติฐานที่ว่าการเจรจาค่าจ้างที่จะเกิดขึ้นจะไม่ทําให้ผิดหวัง


ประเมิน EUR/USD อาจขยายการวิ่งขาขึ้นไปที่ 1.0800/1.0810 หากมีการดันสัญญา short (7 กุมภาพันธ์ 2567)

EUR/USD ขยับสูงขึ้น โดยนักเศรษฐศาสตร์จาก Scotiabank วิเคราะห์แนวโน้มภาพรวมของคู่สกุลเงินนี้ ดังนี้

โมเมนตัมตลาดยังคงเป็นขาลงสำหรับ EUR

การเคลื่อนไหวตามของค่าเงิน EUR ที่สูงขึ้นจากระดับต่ำสุดของวันอังคารดูจะเป็นการปรับฐาน ณ จุดนี้ แม้ว่าการดีดตัวขึ้นจากระดับ 1.0720 จะเป็นจุดเดียวกับระดับต่ำสุดในเดือนพฤศจิกายน ดังนั้นจึงเตือนให้นักลงทุนให้ความสนใจในฐานะฐานราคาที่อาจแข็งแรงกว่า

คู่ EUR/USD มีการเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อยในกราฟระหว่างวัน ซึ่งอาจทําให้ EUR ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาเป็น 1.0800/1.0810 ในระยะสั้น แต่โมเมนตัมตลาดภาพรวมยังคงเป็นขาลงสำหรับ EUR และราคาสปอตยังคงอยู่ต่ำกว่าฐานราคาทางเทคนิคที่มีเสถียรภาพมากกว่า (ที่เหนือระดับ 1.0875)


ประเมิน USD/CAD “การดันขึ้นไปเหนือ 1.3550 น่าจะดันให้มีการวิ่งขึ้นต่อไปที่ 1.3625” (6 กุมภาพันธ์ 2567)

USD/CAD ซื้อขายใกล้กับระดับสูงสุดของวันจันทร์และใกล้แนวต้านทางเทคนิคที่สําคัญในช่วงกลางของโซนราคา 1.3500 โดยนักเศรษฐศาสตร์จาก Scotiabank วิเคราะห์แนวโน้มภาพรวมของคู่เงินนี้ ดังนี้

แรงกดดันในช่วงกลางโซน 1.3500 จะยังคงมีอยู่ในขณะนี้

การเพิ่มขึ้นของราคาสปอตหยุดชะงักไปที่ระดับสูงสุดในเดือนมกราคม และระดับแนวต้าน Fibonacci การย้อนกลับที่ 1.3540 ในวันจันทร์ รวมถึงการวิ่งขาขึ้นของ USD ยังคงใกล้เคียงกับจุดนั้นในวันนี้ แต่ว่าอยู่ใต้ระดับนั้น

ระดับแนวต้านกําลังแข็งแกร่งขึ้นเพราะเส้น 100-DMA (1.3553) ในกราฟรายวัน

แนวโน้มตลาดพื้นฐานของ USD บ่งชี้ว่าแรงกดดันในช่วงกลางโซนราคา 1.3500 จะยังคงมีอยู่ในขณะนี้ โดยการดันระดับเหนือ 1.3550 มีแนวโน้มที่จะผลักดันให้ USD ปรับตัวขึ้นไปที่ระดับ 1.3625 (Fibo การย้อนกลับ 61.8% ของการลดลงในไตรมาส 4 ของ USD)

แนวรับสําคัญอยู่ที่ 1.3500/1.3505 ในระยะสั้น และการอ่อนตัวของ USD กลับมาผ่านระดับนี้น่าจะเห็น USD กลับซื้อขายที่ระดับ 1.3455/1.3465


ในยุคทรัมป์ บอนด์ยีลด์จะสูงขึ้น ดอลลาร์จะผันผวนมากขึ้นกว่ายุคไบเดน (2 กุมภาพันธ์ 2567)

เมื่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ กลายเป็นประเด็นร้อนสําหรับตลาดลงทุน นักเศรษฐศาสตร์จาก Nordea มองถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการกลับมาของทรัมป์ในปี 2025

ตลาดกําลังประเมินความเสี่ยงที่ประธานาธิบดีทรัมป์คนใหม่จะสร้างต่ำเกินไป

การกลับมาของทรัมป์มีแนวโน้มที่จะทำให้นโยบายเงินเฟ้อมากขึ้น ทรัมป์จะยกระดับการค้าระหว่างสหรัฐฯ และต่างประเทศอีกครั้งโดยมุ่งเน้นที่จีน ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์จะเพิ่มขึ้น และการขาดดุล ของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่สูงขึ้น

แม้ว่าการเป็นผู้นำสหรัฐฯ เทอมแรกจะค่อนข้างดีสําหรับตลาดหุ้นสหรัฐฯ และเศรษฐกิจโลก แม้ว่าจะมีความตึงเครียดทางการค้าจะเพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่มีการรับประกันว่าวาระที่สองของทรัมป์จะเหมือนเดิม เราเชื่อว่าตลาดกําลังประเมินความเสี่ยงที่ประธานาธิบดีทรัมป์คนใหม่จะสร้างต่ําเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้นและความกังวลเกี่ยวกับหนี้ภาครัฐของสหรัฐฯ โดยรวมแล้ว เราเชื่อว่าตําแหน่งประธานาธิบดีของทรัมป์จะทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ สูงขึ้น

สําหรับ USD แนวโน้มการเคลื่อนไหวมีความคลุมเครือมากขึ้น แต่การเลือกตั้งใหม่ของทรัมป์มีแนวโน้มที่จะสนับสนุน USD ที่แข็งค่าขึ้นในระยะสั้นเพราะความตึงเครียดทางการค้าและภูมิรัฐศาสตร์ หลังจากนั้น USD มีแนวโน้มจะอ่อนค่าลงยาวนานขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากความกังวลเกี่ยวกับหนี้ภาครัฐเกิดขึ้นจริง


จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสัปดาห์ที่แล้วของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ (1 กุมภาพันธ์ 2567)

  • จํานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 224,000 รายจากสัปดาห์ก่อนหน้า
  • จํานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานต่อเนื่องยังสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์

ในวันพฤหัสบดี ข้อมูลรายสัปดาห์ที่ประกาศโดยกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ (DOL) ระบุว่าจํานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสัปดาห์ที่นับถึงวันที่ 27 มกราคมออกมาอยู่ที่ 224,000 ราย ข้อมูลนี้ออกมาหลังจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่มีจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการฯ 215,000 ราย และสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้

รายละเอียดเพิ่มเติมแสดงให้เห็นว่าอัตราการว่างงานของผู้ประกันตนที่ปรับตัวเลขแล้วตามฤดูกาลอยู่ที่ 1.3% และจำนวนค่าเฉลี่ยของผู้ขอรับสวัสดิการตลอด 4 สัปดาห์มียอดรวมอยู่ที่ 207,750 รายลดลง 5,250 จากค่าเฉลี่ยที่ปรับแล้วในสัปดาห์ก่อนหน้า

จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ต่อเนื่องเพิ่มขึ้น 70,000 รายในสัปดาห์นับถึงวันที่ 20 มกราคม รวมแล้วกลายเป็น 1.8898 ล้านราย

ปฏิกิริยาของตลาด

ดัชนีดอลลาร์สหรัฐ (DXY) อยู่ภายใต้แรงเทขาย ราคาดัชนีกำลังทิ้งพื้นที่จุดสูงสุดรายสัปดาห์ใกล้ 103.80


MUFG ประเมิน EUR/GBP “อาจขยายการปรับตัวขาลงต่อไป” (31 มกราคม 2567)

EUR/GBP กำลังมุ่งหน้าลงไปที่ระดับ 0.8500 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม โดยนักเศรษฐศาสตร์จาก MUFG Bank วิเคราะห์แนวโน้มทิศทางของคู่สกุลเงินดังกล่าว

มีขอบเขตสําหรับการแข็งค่าของ GBP ต่อไป เมื่อเทียบกับ EUR

เรายังคงมีมุมมองต่อตลาดเป็นขาขึ้นสำหรับ USD และหาก GBP ตอบสนองต่อการปรับปรุงทิศทางนโยบายของ BoE ไปในทางที่ผ่อนคลายน้อยกว่าที่คาดไว้ เราก็จะมองเห็นขอบเขตสําหรับคู่ EUR/GBP ที่จะขยายการเคลื่อนไหวในปัจจุบันไปในขาลง

EUR/GBP กําลังเข้าใกล้ระดับต่ำสุดในปี 2023 ที่ระดับ 0.8493 และการทะลุระดับนั้นน่าจะเปิดโอกาสให้ขยับกลับลงไปที่ระดับ 0.8400 โดยเป็นระดับที่ซื้อขายล่าสุดในเดือนสิงหาคม 2022 อย่างรวดเร็ว


ผลกำไรจากการลงทุนที่ลดลงอาจทำให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงได้ในอนาคตอันใกล้ (30 มกราคม 2567)

ดอลลาร์สหรัฐ (USD) ยังคงมีกรอบการเคลื่อนไหวกว้างๆ และเคลื่อนไหวผันผวนในวันนี้ นักเศรษฐศาสตร์จาก Scotiabank วิเคราะห์แนวโน้มของเงินดอลลาร์เอาไว้ดังนี้

การวิเคราะห์ทางเทคนิคระยะสั้นชี้มีโอกาสเอียงไปทางขาลง

ขาขึ้นของดัชนีดอลลาร์สหรัฐ (DXY) ทำจุดสูงสุดประมาณ 103.80 ในวันจันทร์  หรือเป็นการกลับไปทดสอบจุดสูงสุดของสัปดาห์ที่แล้วอีกครั้ง การวิเคราะห์ทางเทคนิคระยะสั้นชี้มีโอกาสเอียงไปทางขาลง และมีโอกาสทดสอบบริเวณ 103.00 แต่ตลาดจะสามารถรวบรวมโมเมนตัมเพื่อผลักดัน DXY ให้ปรับตัวลดลงก่อนการตัดสินใจดอกเบี้ยของ FOMC ในวันพุธได้หรือไม่นั้นยังคงต้องรอดูกันต่อไป

หลังจากการประกาศเมื่อวันจันทร์จากกระทรวงการคลังสหรัฐฯ เกี่ยวกับข้อกําหนดการกู้ยืมรายไตรมาสที่น้อยกว่าที่คาดไว้ อัตราผลตอบแทนของสหรัฐฯ ลดลงเล็กน้อย ในระยะสั้น อัตราผลตอบแทนที่ลดลงอาจไม่ช่วยหนุน USD อย่างที่ปกติมักจะทำ


หากอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นปรับตัวขึ้นอาจทําให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นในระยะเวลาอันใกล้ (29 มกราคม 2567)

ความเห็นที่เป็นเอกฉันท์ในปี 2024 คือเงินดอลลาร์สหรัฐจะอ่อนค่าลง นักเศรษฐศาสตร์จาก ING เห็นด้วย แต่ก็มีการให้ข้อสังเกตบางประการ

การปรับตัวขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในระยะสั้นอาจเป็นผลดีต่อดอลลาร์

เราเข้าใจว่ามีหลายคนที่เชื่อว่าเงินดอลลาร์มีแนวโน้มจะอ่อนค่าลดลงในปี 2024 อย่างไรก็ตาม เราไม่เห็นด้วยกับความคิดที่ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมีนาคม และการดีดตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทน USD ระยะสั้นอาจทําให้ดอลลาร์มีในอนาคตอันใกล้มีพื้นที่ให้พักหายใจได้มากขึ้น

กรอบการเคลื่อนไหวของราคาที่เห็นมาตั้งแต่เดือนมกราคมอาจกลายเป็นบรรทัดฐานของสกุลเงินในกลุ่ม G10 ต่อไปอีก


ปีนี้ตลาดลงทุนอาจต้องผิดหวังกับเฟดเป็นอย่างมากอีกครั้ง – Nordea (26 มกราคม 2567)

ความเห็นล่าสุดของเฟดและข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องหมายความว่าเราอาจต้องรอนานขึ้นกว่าที่อัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ จะลดลง

ตลาดเริ่มตระหนักว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่จะเกิดขึ้นจะไม่ดูเหมือนวัฏจักรปกติ

ตลาดกําลังเปลี่ยนคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ย เพราะได้เห็นข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและความเห็นของเฟดอย่างต่อเนื่อง

สําหรับโอกาสที่ธนาคารกลางที่จะปรับลดในเดือนมีนาคม เราจะต้องเห็นตัวเลขเงินเฟ้อในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ที่ต่ำลง ซึ่งดูเหมือนจะไม่น่าเป็นไปได้ แต่ก็มีโอกาสที่เฟดจะเลือกรอดู และในระหว่างนี้ อัตราเงินเฟ้อจะเริ่มขยับสูงขึ้นอีกครั้งจากอัตราค่าระวางที่เพิ่มขึ้นและแรงกดดันด้านค่าจ้างครั้งใหม่ หากเป็นเช่นนั้น ราอาจไม่เห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้เลย


ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนสหรัฐฯ ในเดือนธันวาคมออกมาทรงตัว (25 มกราคม 2567)

  • ยอดคําสั่งซื้อสินค้าคงทนทรงตัวในเดือนสุดท้ายของปี 2023
  • ดอลลาร์สหรัฐในวันนี้ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในโซน 103.20

สํานักงานสํารวจสํามะโนประชากรของสหรัฐฯ ประกาศเมื่อวันพฤหัสบดีว่ายอดคําสั่งซื้อสินค้าคงทนในสหรัฐอเมริกาในเดือนธันวาคมทรงตัว (MoM)  หลังจากเพิ่มขึ้น 5.5% ในเดือนก่อนหน้า

เมื่อไม่รวมการขนส่ง ยอดคําสั่งซื้อใหม่เพิ่มขึ้น 0.6% และเพิ่มขึ้น 0.5% เมื่อไม่รวมยอดคําสั่งซื้อจากกลาโหม เพิ่มขึ้น 0.5%


โอกาสสำหรับการแข็งค่าของเงินดอลลาร์อาจลดลงเล็กน้อย (24 มกราคม 2567)

เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงอีกครั้งตามปกติหลังจากล้มเหลวในการปรับตัวขึ้นต่อจากขาขึ้นในวันอังคาร  นักเศรษฐศาสตร์จาก Scotiabank วิเคราะห์แนวโน้มของเงินดอลลาร์เอาไว้ดังนี้

การอ่อนค่าของ DXY ลงต่ำกว่า 102.90 อาจทำให้ในระยะสั้นพี่ใหญ่อย่างดอลลาร์จะอ่อนกำลังลงอีกเล็กน้อย

การเคลื่อนไหวของ USD ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาค่อนข้างจํากัด แต่อาจมีนัยสําคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความล้มเหลวของ USD ในการใช้ประโยชน์จากขาขึ้นของ DXY ผ่านบริเวณ 103.50 ในวันอังคาร

ท่ามกลางปัจจัยเบื้องหลังที่มีแต่ความไม่แน่นอน นักลงทุนที่นิยมการเคลื่อนไหวในระยะสั้นอาจเป็นปัจจัยทำให้นักลงทุนที่ไม่เต็มใจที่จะยึดติดกับการถือออเดอร์นานเกินไป โอกาสสำหรับการแข็งค่าของเงินดอลลาร์อาจลดลงเล็กน้อย

ในช่วงเวลานี้ตามปกติ Q1 มักจะเป็นขาขึ้นของ USD แต่โดยทั่วไปแล้ว สิ่งที่ดีที่สุดมักจะมาในเดือนมกราคม อย่างที่ข้อมูลในอดีตได้แสดงให้เราเห็น

การอ่อนค่าของ DXY ลงต่ำกว่า 102.90 อาจทำให้ในระยะสั้นพี่ใหญ่อย่างดอลลาร์จะอ่อนกำลังลงอีกเล็กน้อย


EURUSD ดูเหมือนจะอ่อนตัวลงและมีแนวโน้มจะอ่อนตัวต่อเนื่องขึ้น (23 มกราคม 2567)

EUR/USD ซื้อขายใกล้แนวรับ 1.0845/1.0850 และนักเศรษฐศาสตร์ที่ Scotiabank วิเคราะห์แนวโน้มทางเทคนิคของคู่สกุลเงินดังกล่าว ดังนี้

สัญญาณราคาระหว่างวันและในกรอบเวลารายวันดูเป็นตลาดขาลง

การปรับตัวขาลงระหว่างวันอย่างหนักทําให้ EUR ดูเหมือนจะอ่อนค่าลงและมีแนวโน้มจะอ่อนตัวต่อเนื่องขึ้น

สัญญาณราคาระหว่างวันและในกรอบเวลารายวัน (อย่างน้อยก็ในตอนนี้) ดูเป็นตลาดขาลงและทำให้ราคาสปอตอ่อนแรงลงมาอย่างน่าหวาดเสียว เหนือระดับต่ำสุดล่าสุดที่ประมาณ 1.0850 เล็กน้อย (เส้น 200-DMA อยู่ที่ 1.0846 ในวันนี้)

ราคาสปอตดูเหมือนจะตอบสนองในทางลบต่อการเข้าทดสอบที่ผ่านไปไม่ได้อีกครั้งในการพยายามยืนเหนือ 1.0900+ ในวันนี้  รวมถึงจะมีแนวต้านที่แข็งแกร่งที่ระดับ 1.0910/1.0920 ต่อไป

การอ่อนตัวลงไปต่ำกว่า 1.0845/1.0850 น่าจะทำให้เห็นการอ่อนตัวลงของ EUR ขยายไปสู่ระดับ 1.0700/1.0800


USDJPY: คาดว่าเงินเยนจะแข็งค่าขึ้นไปตลอดทั้งปี 2024 (22 มกราคม 2567)

เงินเยนญี่ปุ่น (JPY) มีการแกว่งตัวที่โดดเด่นเมื่อเทียบกับการเคลื่อนไหวของดอลลาร์สหรัฐ (USD) และความเห็นของธนาคารกลาง นักเศรษฐศาสตร์จาก National Bank of Canada วิเคราะห์แนวโน้ม USDJPY เอาไว้ดังนี้

การขึ้นอัตราดอกเบี้ยในขณะที่โลกส่วนใหญ่เริ่มผ่อนคลายนโยบายการเงินอาจทําให้ JPY แข็งค่าขึ้น

การละทิ้งนโยบายการเงินที่ผิดปกติ (อัตราดอกเบี้ยติดลบ) ที่พูดถึงกันเป็นอย่างมาก (อ่านเพิ่มเติม: อัตราดอกเบี้ยติดลบ) ยังไม่เกิดขึ้นจริง แม้จะมีแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ

ธนาคารกลางแห่งประเทศญี่ปุ่นลังเลจะยกเลิกนโยบายผ่อนคลายจนกว่าพวกเขาจะได้เห็นอัตราเงินเฟ้อไปอยู่ที่ 2% อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ BoJ กําลังต่อสู้กับการเร่งตัวของค่าจ้างซึ่งน่าจะสร้างแรงกดดันให้การกลับไปใช้นโยบายการเงินปกติ

การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกอาจเกิดขึ้นในฤดูใบไม้ผลิ (อาจเป็นเดือนเมษายน) ด้วยเหตุนี้ การขึ้นอัตราดอกเบี้ยในขณะที่โลกส่วนใหญ่กําลังผ่อนคลายนโยบายการเงินอาจทําให้สกุลเงินญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้น

เราเชื่อว่าเงินเยนจะแข็งค่าขึ้นตลอดปี 2024


ดูเหมือนว่าตลาดลงทุนจะไม่มีความสนใจในการดัน EURUSD ให้สูงขึ้น (19 มกราคม 2567)

EURUSD มีกรอบเคลื่อนไหวอยู่ที่ประมาณ 1.0900 ในตลาดซื้อขายที่เงียบสงบ นักเศรษฐศาสตร์จาก Scotiabank วิเคราะห์แนวโน้มของทั้งคู่เอาไว้ดังนี้

บรรยากาศการลงทุนยังดูไม่พร้อมที่จะเสี่ยง

EURUSD สปอตดูมีโอกาสปรับตัวลดลงมากขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์เพราะคู่กราฟได้ลงไปทดสอบบริเวณ 1.0800 กลางๆ ถึงสองครั้งแต่ขาดแรงขายสนับสนุนตามมา การขายแรงขายดังกล่าวทำให้ EUR สามารถหลีกเลี่ยงการอ่อนค่าลงต่อได้ (อย่างน้อยก็ในตอนนี้) อย่างไรก็ตาม บรรยากาศการลงทุนยังดูไม่พร้อมที่จะเสี่ยง อินดิเคเตอร์ออสซิลเลเตอร์แนวโน้มระยะสั้นและสัญญาณราคาระยะยาวยังเชียร์ไปทางขาลง

การแข็งค่าขึ้นของ EUR ผ่าน 1.0910/1.0920 อาจทําให้คู่กราฟปรับตัวขึ้นในระยะสั้น แต่ดูเหมือนว่าตลาดลงทุนจะไม่มีความสนใจในการดัน EURUSD ให้สูงขึ้น เพราะราคามีแนวโน้มที่จะปรับตัวลดลงมาตั้งแต่ต้นสัปดาห์นี้


จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของสหรัฐฯ ในสัปดาห์ที่แล้วลดลงต่ำกว่า 200,000 ตำแหน่ง (18 มกราคม 2567)

  • ในสัปดาห์ที่สองของปี 2024 จํานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 187,000 ราย
  • ในสัปดาห์ที่นับถึงวันที่ 6 มกราคม จํานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ต่อเนื่องเพิ่มขึ้น 11,000  ราย

ในวันพฤหัสบดี ข้อมูลรายสัปดาห์ที่ประกาศโดยกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ (DOL) ระบุว่าจํานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสัปดาห์ที่นับถึงวันที่ 13 มกราคมออกมาอยู่ที่ 187,000 ราย ต่ำที่สุดตั้งแต่เคยมีการประกาศตัวเลขนี้มาตั้งแต่ในช่วงปลายเดือนกันยายนปี 2022 ข้อมูลนี้ออกมาหลังจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่มีจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการฯ 203,000 ราย และต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้

รายละเอียดเพิ่มเติมแสดงให้เห็นว่าอัตราการว่างงานของผู้ประกันตนที่ปรับตัวเลขแล้วตามฤดูกาลอยู่ที่ 1.2% และจำนวนค่าเฉลี่ยของผู้ขอรับสวัสดิการตลอด 4 สัปดาห์มียอดรวมอยู่ที่ 203,250 รายลดลง 4,750 รายจากค่าเฉลี่ยที่ปรับแล้วในสัปดาห์ก่อนหน้า

จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ต่อเนื่องลดลง 26,000 รายในสัปดาห์นับถึงวันที่ 6 มกราคม รวมแล้วกลายเป็น 1.806 ล้านราย

ปฏิกิริยาของตลาด

ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดใหม่ในวันนี้ผ่าน 102.50 ไม่นานหลังจากการเปิดเผยข้อมูลตลาดแรงงานรายสัปดาห์ โดยยังคงรักษาแนวโน้มขาขึ้นในกราฟรายสัปดาห์เอาไว้ได้ไม่เปลี่ยนแปลง


ยอดค้าปลีกสหรัฐฯ ในเดือนธันวาคมปรับตัวขึ้นมากกว่าคาด (17 มกราคม 2567)

  • ยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือน ธ.ค. เทียบกับการเพิ่มขึ้น 0.4% ที่ตลาดคาดการณ์
  • ยอดค้าปลีกพื้นฐานเพิ่มขึ้น 0.4% และยอดขายของกลุ่มสินค้าควบคุมเพิ่มขึ้น 0.8%

จากข้อมูลที่ประกาศโดยสํานักงานสํารวจสํามะโนประชากรของสหรัฐฯ ยอดค้าปลีกสหรัฐฯ ในเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้น 0.6% เป็น 709.9 พันล้านดอลลาร์เมื่อเทียบรายเดือน ตัวเลขดังกล่าวเป็นไปตามตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 0.3% ในเดือน พ.ย. (706.0 พันล้านดอลลาร์) และออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะขยายตัว 0.4%

ยอดค้าปลีกที่ไม่รวมยานยนต์ (Ex-Autos) เพิ่มขึ้น 0.4% ในขณะเดียวกัน ยอดค้าปลีกของกลุ่มสินค้าควบคุมเพิ่มขึ้น 0.8%

ปฏิกิริยาของตลาด

เงินดอลลาร์ฟื้นตัวขึ้นบ้างหลังจากการรายงานยอดค้าปลีก ดัชนี USD (DXY) ไต่ขึ้นสู่จุดสูงสุดใหม่ในปี 2024 ที่ 103.60

ข้อความนี้ได้รับการแก้ไขที่ 13:47GMT เพื่อระบุว่าตัวเลขคาดการณ์ของตลาดอยู่ที่ 0.4% ไม่ใช่ 0.3% ในขณะเดียวกัน ยอดค้าปลีกที่ไม่รวมยานยนต์ (ex-Autos) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.4% แทนที่จะเป็น 0.6%


EURUSD มีแนวรับชัดเจนอยู่ที่ 1.0875/1.0880 – ING (16 มกราคม 2567)

EURUSD ยังคงเป็นเทรนด์ขาลงวิ่งอยู่ต่ำกว่า 1.0950 นักเศรษฐศาสตร์จาก ING วิเคราะห์มุมมองของทั้งคู่เอาไว้ดังนี้

การทะลุ 1.0875 ในวันนี้จะเปิดทางสู่ 1.0800

ในวันนี้ สิ่งที่ดึงดูดสายตาของเราคือถ้อยแถลงจากคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์จากธนาคารกลางสหรัฐฯ เราสันนิษฐานว่าเขาจะไม่ต้องการมีส่วนร่วมในการปรับจูนการหารือเกี่ยวกับรอบการผ่อนคลายนโยบายการเงินในปี 2024 และจะไม่เป็นคนเริ่มพูดเรื่องลดดอกเบี้ยในเดือนมีนาคมด้วย ดังนั้น เราจึงมองว่าความเสี่ยงจากถ้แยแถลงของเขาแทบไม่มี อาจจะทำให้ดอลลาร์อ่อนค่าเล็กน้อยและเป็นผลดีสําหรับสินทรัพย์เสี่ยง

สําหรับ EURUSD กราฟมีแนวรับที่ชัดเจนที่ 1.0875/1.0880 เราคิดว่าคําพูดของคริสโตเฟอร์อาจทำให้ระดับแนวรับนั้นคงอยู่และ EURUSD จะจบวันนี้ด้วยการปรับตัวขึ้น หากเราผิดเกี่ยวกับสิ่งที่เขาจะพูด การทะลุ 1.0875 ในวันนี้จะเปิดทางสู่ 1.0800


ING ประเมิน EURGBP อาจกลับไปทดสอบจุดต่ำสุดล่าสุดที่ 0.8573 ได้ (15 มกราคม 2567)

จะมีการประกาศรายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหราชอาณาจักรในวันพุธ โดยนักเศรษฐศาสตร์ที่ ING วิเคราะห์แนวโน้มทิศทางของเงินปอนด์สเตอร์ลิง (GBP) ก่อนข้อมูลเงินเฟ้อดังกล่าวนี้ ดังนี้

เงินเฟ้อภาคการบริการจะทรงตัวอยู่เหนือ 6%

อัตราเงินเฟ้อภาคบริการเป็นสิ่งที่สําคัญที่สุดสําหรับธนาคารแห่งชาติอังกฤษในปัจจุบัน และเราคาดว่าจะออกมาที่ 6.1% ในสัปดาห์นี้ ซึ่งต่ำกว่าประมาณการของธนาคารแห่งชาติอังกฤษไปอย่างมาก แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อของภาคการบริการจะดีขึ้น แต่ระดับ 6%+ ยังคงสูงเกินไปและไม่น่าจะทําให้ BoE ยืนยันการคาดการณ์การปรับอัตราดอกเบี้ยเชิงผ่อนคลาย (dovish)

EUR/GBP อาจสามารถเข้าทดสอบระดับต่ำสุดล่าสุดที่ 0.8573 ได้อีกครั้ง แต่เราคาดว่ากราฟจะพบแนวรับบางส่วนเล็กน้อยในสัปดาห์นี้ เนื่องจากค่าเงินยูโรอาจได้รับอานิสงส์จากความคิดเห็นเชิง hawkish ของนางคริสติน ลาการ์ด (Christine Lagarde) ประธาน ECB ในการประชุมในเมืองดาวอส มุมมองระยะกลางของเราในคู่สกุลเงินยังคงเป็นขาขึ้น


Commerzbank คาดการณ์ราคาทองคำ XAUUSD ไม่น่าจะเห็นการวิ่งขาขึ้นต่อไป (12 มกราคม 2567)

มีความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดหวังในตลาดทองคําหากผู้เข้าร่วมตลาดต้องลดความคาดหวังในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว ตามรายงานของนักกลยุทธ์ที่ Commerzbank

ตลาด ETF ทองคํามีการไหลออกของเงินทุนอย่างมีนัยสําคัญ

เนื่องจากจังหวะเวลาของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกของเฟดยังคงมีความไม่แน่นอน และเราไม่ได้คาดหวังว่าเหตุการณ์นั้ยจะเกิดขึ้นก่อนเดือนพฤษภาคม เราจึงไม่เห็นศักยภาพการวิ่งขึ้นขึ้นอีกในระหว่างนี้

แต่ระยะเวลารอคอยที่ยาวนานขึ้นอาจนําไปสู่ความผิดหวังและในระยะสั้นอาจเห็นการปรับตัวขาลง โดยการไหลออกของเงินทุนอย่างต่อเนื่องจากตลาด ETF ทองคํายังคงหนุนแนวโน้มตลาดทางนี้


มีโอกาสที่ดอลลาร์สหรัฐจะอ่อนค่าลงต่อในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ (9 มกราคม 2567)

นักเศรษฐศาสตร์จาก TD Securities คาดว่าดอลลาร์สหรัฐจะต้องพยายามขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี 2024

หันไปลงทุนแบบรอย่อแล้วเข้าซื้อจะดีกว่าอดทนถือในปีนี้

ในปีที่ผ่านมา สิ่งสำคัญคืออัตราแลกเปลี่ยนและการอดทนถือออเดอร์แม้จะมีราคาสูง แต่เพราะปีนี้อาจมีการลดดอกเบี้ยลง การหาจุดเข้าซื้อที่ดีจึงทำได้ดีกว่าการทนถือออเดอร์เพื่อรอจังหวะ แต่อาจต้องใช้เวลาสักระยะก่อนที่เราจะเห็นว่าเกิดอะไรขึ้นตลอดทั้งปี

นอกจากนี้ เรายังสังเกตความแตกต่างระหว่างปัจจัยการเติบโต / อัตราเงินเฟ้อของกลุ่ม G10 ซึ่งภาคที่อยู่อาศัย G10 อาจเป็นตัวกําหนดทิศทางของตลาดในปีนี้

การคาดการณ์ USD ในภาพคือการอ่อนค่าลงต่อในช่วงครึ่งปีแรก


รูปแบบการเคลื่อนไหวของ EURUSD ในระยะสั้นเอียงไปทางขาลง (8 มกราคม 2567)

นักเศรษฐศาสตร์จาก Scotiabank รายงานว่า EURUSD ปรับตัวสูงขึ้น แต่การการเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบราคายังคงมีอยู่

ในกราฟรายสัปดาห์หรือภาพรวมกว้างๆ มีความชัดเจนว่าราคาปรับตัวลดลง

หลังจากความผันผวนในวันศุกร์ การเคลื่อนไหวในกรอบราคาแคบๆ ของ EURUSD สปอตกําลังยืดระยะออกไปอีก

อย่างไรก็ตาม รูปแบบระยะสั้นค่อนข้างเป็นขาลง และหลังจาก EURUSD ปรับตัวลดลงจากจุดสูงสุดในช่วงปลายเดือนธันวาคม ในกราฟรายสัปดาห์หรือภาพรวมกว้างๆ มีความชัดเจนว่าราคาปรับตัวลดลง

แนวต้านของ EUR อยู่ที่ 1.0975/1.1000 โดยมีแนวรับคือ 1.0900 / 1.0910


Commerzbank มองว่า USD ไม่น่าจะแข็งค่าขึ้นอย่างมีนัยสำคัญใด ๆ (7 มกราคม 2567)

ประธานเฟดสาขาแอตแลนตา นาย Raphael Bostic ยังคงมองโลกในแง่ดีว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงเย็นลงในปีนี้และส่งสัญญาณถึงความเป็นไปได้ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยสองครั้งในช่วงครึ่งหลังของปี 2024 นี้ อย่างไรก็ตามนักเศรษฐศาสตร์ที่ Commerzbank ไม่ได้คาดการณ์ว่าดอลลาร์สหรัฐจะแข็งค่าขึ้น

มีถ้อยแถลงเล็กน้อยที่คาดการณ์การเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ 

ประธานเฟดสาขาแอตแลนตา นาย Raphael Bostic กล่าวว่า ‘อัตราเงินเฟ้อลดลงมากกว่าที่เขาได้คาดไว้’ และกําลังอยู่ในเส้นทางที่จะไปถึงเป้าหมายที่ 2% ในเวลาเดียวกันเขาเตือนว่ายังเร็วเกินไปที่จะให้ความชัดเจนทั้งหมดได้ อย่างไรก็ตาม มีสัญญาณเพียงเล็กน้อยที่จะบ่งบอกว่าจะมีการปรับตัวขึ้นอีกในขณะนี้ อย่างน้อยก็เท่าที่อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ยังคงน่าเป็นห่วง

แม้จะมีความคืบหน้าเกี่ยวกับการลดอัตราเงินเฟ้อ แต่เขายังคงระมัดระวังและพูดถึงความเป็นไปได้ของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยสองครั้งในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ด้านคุณมิเชล โบว์แมน ผู้ว่าการเฟดกล่าวในทำนองเดียวกันด้วยว่า ‘ในที่สุดก็จะถึงเวลาที่เหมาะสมที่จะเริ่มกระบวนการการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเรา’ หากอัตราเงินเฟ้อยังคงลดลง และด้วยสัญญาณทั้งหมดที่บ่งชี้ให้เห็นถึงการผ่อนคลายแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ ซึ่งตลาดคาดการณ์เรื่องนี้เอาไว้แล้ว

มีสัญญาณเพียงเล็กน้อยที่จะบ่งชี้การปรับฐานอย่างมีนัยสําคัญในการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยที่ใกล้เข้ามานี้ และค่าเงิน USD จะแข็งค่าขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ ข่าว forex


ข้อมูลตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ อาจทำให้ขาลงของเงินดอลลาร์ฯ ชะลอความเร็วลง (6 มกราคม 2567)

ในสหรัฐฯ จะมีการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อเดือนธันวาคมในวันพฤหัสบดี นักเศรษฐศาสตร์จาก Commerzbank วิเคราะห์ว่ารายงาน CPI อาจส่งผลกระทบต่อดอลลาร์อย่างไร

หากตัวเลขที่ออกมาลดลง ดอลลาร์จะกลับมาอ่อนค่าอย่างรวดเร็ว

ผู้ที่หวังว่าจะมีสัญญาณการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากเฟดที่ชัดเจนขึ้นหลังจากรายงานตัวเลขการจ้างงานอาจต้องผิดหวัง ใช่อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่เร็วมากตามที่ผู้เชี่ยวชาญของเราประเมิน การที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราพื้นฐานเพิ่มขึ้นประมาณ 0.25% MoM ไม่ได้บ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อลดลงอย่างรวดเร็ว ผู้เชี่ยวชาญของเรากล่าวว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอาจเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 3.2% YoY ในเดือนธันวาคม อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มที่จะยังคงสูงอย่างไม่สบายใจที่ 3.8%

บางที ตัวเลขเงินเฟ้ออาจช่วยชะลอแนวโน้มขาลงของดอลลาร์ได้ แต่ผมกลัวว่าหากตัวเลขที่ออกมาลดลง ดอลลาร์จะกลับมาอ่อนค่าอย่างรวดเร็ว


รายงานตัวเลขยอดคำสั่งซื้อสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายนเซอร์ไพรส์ปรับตัวขึ้น (5 มกราคม 2567)

รายงานตัวเลขยอดคําสั่งซื้อภาคโรงงานของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายนขยายตัว 2.6% จากเดือนก่อนหน้า ตามรายงานของสํานักงานสํารวจสํามะโนประชากรสหรัฐฯ ตัวเลขดังกล่าวสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้และกลับลดลง 3.4% ในเดือนตุลาคม (ปรับตัวเลขแล้วจาก -3.6%)

ปฏิกิริยาของตลาด

ดัชนี USD (DXY) ปรับตัวลดลงต่อเพราะนักลงทุนยังคงประเมินข้อมูลจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ประกาศไปก่อนหน้านี้ การทะลุลงทำให้ดัชนี DXY ทะลุแนวรับสำคัญ 102.00


การขอรับสิทธิว่างงานครั้งแรกของสหรัฐฯ เพิ่มสูงขึ้นกว่าที่คาดการณ์ในสัปดาห์ก่อน (4 มกราคม 2567)

  • จํานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 202,020 รายในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 30 ธันวาคม
  • ดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ กลับมาทรงในเชิงบวกได้บางส่วนที่บริเวณระดับ 102.50

จำนวนพลเมืองสหรัฐฯ ที่ยื่นขอรับสวัสดิการประกันการว่างงานเพิ่มขึ้น 202,000 รายในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 23 ธันวาคม ซึ่งเปิดเผยโดยกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ (DOL) ในวันพฤหัสบดี ตัวเลขดังกล่าวต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาดและการเพิ่มขึ้นที่ 220,000 รายในสัปดาห์ก่อนหน้า

รายละเอียดเพิ่มเติมจากเอกสารรายงานนี้เปิดเผยว่า อัตราการว่างงานของผู้ประกันตนที่ปรับตามฤดูกาลเพิ่มขึ้นที่ 1.2% และค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 4 สัปดาห์อยู่ที่ 207,750 ราย ลดลงมา 4,750 ราย จากระดับค่าเฉลี่ยที่ปรับแก้แล้วของสัปดาห์ก่อนหน้า

นอกจากนี้ การเรียกร้องสิทธิต่อเนื่องลดลง 31,000 ราย มาอยู่ที่ 1.855 ล้านราย ในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 23 ธันวาคม

ปฏิกิริยาของตลาด

ดัชนีดอลลาร์สหรัฐได้พยายามดีดตัวขึ้นสู่ระดับ 102.50 หลังจากการเปิดเผยรายงาน ADP ที่แข็งแกร่งกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้


ปัจจัยที่มีอานิสงส์ต่อการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ จากการครองตลาดพลังงาน (3 มกราคม 2567)

บทสรุปก็คือ

สงครามอ่าวเปอร์เซียในช่วงต้นทศวรรษ 1990 เป็นตัวเร่งให้เกิดการขับเคลื่อนทางนโยบายด้านพลังงานของสหรัฐฯ ซึ่งขัดขวางการลงทุนภาคเอกชนจำนวนมหาศาลมาหลายทศวรรษ จนส่งผลให้สหรัฐฯ กลายเป็นประเทศผู้ส่งออกพลังงานสุทธิ โดยในรายงานฉบับนี้ เราจะอธิบายว่าสิ่งนี้มีส่วนทำให้การขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ ลดลงได้อย่างไร แม้ว่าการรุกรานยูเครนของรัสเซียได้เพิ่มความเร่งด่วนครั้งใหม่ให้กับการผลิตก๊าซธรรมชาติของสหรัฐฯ ที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน เราจะสังเกตด้วยว่ารัฐใดที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดด้วย

ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 หลังสงครามอ่าวเปอร์เซีย ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ของการพึ่งพาผู้ให้บริการจากต่างประเทศสำหรับความต้องการพลังงานภายในประเทศมีความชัดเจนอย่างมาก สภาคองเกรสตระหนักถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง จึงได้ผ่านกฎหมายนโยบายพลังงานฉบับปี 1992  โดยระยะเวลาคืนทุนสำหรับการลงทุนในภาคพลังงานอาจยาวนาน แต่เมื่อถึงช่วงกลางทศวรรษ 2000 การผลิตพลังงานของสหรัฐฯ เริ่มมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

หนึ่งทศวรรษที่แล้ว ผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ที่สุดของโลกมีความผูกพันระหว่างสหรัฐอเมริกาและรัสเซีย แต่ท่ามกลางแนวโน้มการผลิตที่เพิ่มขึ้นในสหรัฐอเมริกาและความซบเซาในรัสเซีย การเปรียบเทียบในปัจจุบันก็เป็นอานิสงส์ต่อสหรัฐอเมริกาเช่นกัน

การรุกรานยูเครนของรัสเซียกระตุ้นให้เกิดความสนใจในก๊าซธรรมชาติของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ในช่วงครึ่งแรกของปี 2023 สหรัฐอเมริกาส่งออกก๊าซ LNG มากกว่าประเทศอื่น ๆ และ 67% ของการส่งออกเหล่านั้นส่งไปที่ยูโรโซนและสหราชอาณาจักร

ความต้องการสินค้าด้านพลังงานล่าสุดที่โยกออกมาจากยุโรป แม้ว่าจะน่าประทับใจมากก็ตาม แต่ก็ไม่ได้เป็นเพียงตัวขับเคลื่อนอุปสงค์ก๊าซธรรมชาติของสหรัฐฯ เท่านั้น โดยปริมาณการใช้ก๊าซธรรมชาติในประเทศยิ่งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงสองสามทศวรรษที่ผ่านมา ก๊าซธรรมชาติเป็นแหล่งพลังงานอันดับต้น ๆ ของโรงไฟฟ้าในประเทศต่าง ๆ ซึ่งคิดเป็น 40% ของการผลิตไฟฟ้าระดับสาธารณูปโภค

การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องไปสู่พลังงานหมุนเวียนก่อให้เกิดความเสี่ยงต่ออุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติ แต่ก็มีปัจจัยชดเชยบางประการ อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นได้ชะลอการใช้จ่ายด้านทุนในพื้นที่พลังงานหมุนเวียน และในขณะเดียวกัน ประเทศเศรษฐกิจที่ก้าวหน้าหลายแห่งกำลังกระจายพลังงานไปเป็นแบบผสมและพึ่งพาก๊าซธรรมชาติของสหรัฐฯ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะช็อกในการจัดหาพลังงานอีกครั้ง

รัฐเท็กซัสและหลุยเซียน่าเป็นรัฐผู้นำในการส่งออกก๊าซธรรมชาติ โดยอาศัยความใกล้ชิดกับชายฝั่งอ่าวไทยและความสามารถในการส่งออก LNG ด้านรัฐเพนซิลเวเนีย อลาสกา เวสต์เวอร์จิเนีย และโอคลาโฮมา เป็นกลุ่มรัฐที่โดดเด่นเพิ่มเติมในแง่ของการผลิตก๊าซของสหรัฐฯ

เนื่องจากการผลิตก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นในขณะที่การบริโภคลดลง สหรัฐฯ จึงมีการเกินดุลการค้าด้านพลังงาน ซึ่งหาได้ยาก มาตั้งแต่ปี 2020 ในระดับที่ประเทศสหรัฐฯ สามารถคงการผลิตหรือเพิ่มการผลิตที่เกินความต้องการต่อไปได้ ไม่เพียงแต่จะช่วยลดการการดุลการค้าเท่านั้น แต่ยังช่วยลดการพึ่งพาผู้ให้บริการด้านพลังงานจากต่างประเทศอีกด้วย รวมถึงบรรเทาผลกระทบโดยตรงทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เอาแน่เอานอนไม่ได้มากยิ่งขึ้น


สัญญาออปชั่นตลาดฟอเร็กซ์ที่ครบกำหนดตัดรอบหมดอายุในวันที่ 2 มกราคม 2024 (2 มกราคม 2567)

สัญญาออปชั่นตลาดฟอเร็กซ์ที่ครบกำหนดตัดรอบหมดอายุในวันที่ 2 มกราคา เวลา 21:00 ตามเวลาในประเทศไทย ตามรายงานของ DTCC มีดังต่อไปนี้

– EUR/USD: จำนวนเงินในสกุลเงิน EUR

1.0900 810 ล้าน

– GBP/USD: จำนวนเงินในสกุลเงิน GBP

1.2750 352 ล้าน

– USD/CAD: จำนวนเงินในสกุลเงิน USD

1.3150 941 ล้าน
1.3350 388 ล้าน
1.3420 874 ล้าน


ANZ ประเมิน EURUSD จะแตะระดับ 1.15 ภายในสิ้นปี 2024 (2 มกราคม 2567)

นักเศรษฐศาสตร์ที่ ANZ Bank พบจุดเปลี่ยนสำคัญสําหรับ EUR/USD และคาดการณ์ว่าคู่สกุลเงินดังกล่าวจะอยู่ที่ระดับ 1.15 ภายในสิ้นปีหน้า

การปรับลดอัตราดอกเบี้ยไม่จําเป็นต้องเป็นปัจจัยลบสําหรับ EUR เสมอไป

เราคาดว่า EUR จะอยู่ที่ระดับ 1.15 ณ สิ้นปี 2024 ตัวขับเคลื่อนของสถานการณ์นี้คือมุมมองต่อ USD ขาลง ซึ่งเราได้เห็นพากราฟ EUR ไปอยู่ที่ระดับ 1.10 ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน เราคิดว่าปัจจัยเชิงวัฏจักรจะผลักดันให้ EUR สูงขึ้น ตามมุมมองที่ว่าตัวชี้วัดการเติบโตมีเสถียรภาพและจุดต่ำสุดของ EUR/USD ได้ถูกกําหนดไว้แล้วสําหรับ cycle ราคาคู่เงินนี้

การเคลื่อนไหวขาขึ้นของ EUR มีแนวโน้มที่จะแข็งแรงมากขึ้นในครึ่งปีหลังของ 2024 เพราะ USD แข็งค่าขึ้นตามฤดูกาลในช่วงต้นปี

เราคาดว่า ECB จะเริ่มผ่อนคลายระดับในเดือนมีนาคม 2024 การปรับลดอัตราดอกเบี้ยไม่จําเป็นต้องเป็นปัจจัยบสําหรับ EUR เนื่องจากความแตกต่างของผลตอบแทนพันธบัตรที่แท้จริงระหว่างในสหรัฐฯ และของเงิน EUR แคบลง เราคิดว่าปัจจัยนี้จะมีส่วนช่วยในการสนับสนุนการวิ่งขาขึ้นในคู่เงิน EUR/USD


คาดการณ์ XAUUSD: ทองคำมุ่งหน้าขึ้นไปยัง $2,100 ในวันที่เฟดมีท่าทีที่ผ่อนคลายลง (28 ธันวาคม 2566)

  • ราคาทองคําปรับตัวขึ้นเนื่องจากดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง
  • ความขัดแย้งในตะวันออกกลางมีส่วนช่วยในการเสริมความต้องการโลหะสีเหลือง
  • นายเจิ้ง ชานเจี๋ย ประธาน NDRC ของจีนกล่าวว่าจะใช้มาตรการเชิงนโยบายเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ
  • เครื่องมือ CME Fedwatch ระบุว่าตลาดเชื่อว่ามีความเป็นไปได้ประมาณ 88% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมีนาคม

ในตลาดลงทุนเอเชียวันพฤหัสบดี ราคาทองคําปรับตัวสูงขึ้นไปวิ่งอยู่ใกล้ระดับสูงสุดในรอบสามสัปดาห์ใกล้ 2,088 ดอลลาร์ต่อทรอยออนซ์ นักลงทุนยอมรับความเสี่ยงได้มากขึ้นเพราะความเป็นไปได้ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในไตรมาสแรกของปี 2024 ทําให้ราคาโลหะสีเหลืองปรับตัวสูงขึ้น

การกลับมาของบริษัทเดินเรือรายใหญ่ในทะเลแดงแสดงให้เห็นความเชื่อมั่นที่กลับมาเบื้องต้นซึ่งอาจได้รับอิทธิพลจากการปรับใช้กองกําลังเฉพาะกิจข้ามชาติในภูมิภาคเข้ามาช่วย อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ ความกังวลเกี่ยวกับการปิดช่องแคบยิบรอลตาร์โดยอิหร่านยังคงมีอยู่ สถานการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ซับซ้อนและมีสถานการณ์ในตะวันออกกลางที่เปลี่ยนแปลงไปยังคงส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของตลาด และส่งผลให้ความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยเช่นทองคําเพิ่มขึ้น

ความมุ่งมั่นของจีนในการดําเนินมาตรการนโยบายที่คุ้นเคยที่ประกาศโดยนายเจิ้ง ชานเจี๋ย (Zheng Shanjie) ประธานคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ (NDRC) มีความมุ่งเน้นไปที่การขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศเพื่อให้มั่นใจว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว และส่งเสริมการเติบโตที่มั่นคง สถานการณ์ในเศรษฐกิจจีนที่ดีขึ้นมีแนวโน้มที่จะมีอิทธิพลต่อราคาทองคําให้ปรับตัวสูงขึ้น

ตามที่ระบุโดยเครื่องมือ CME Fedwatch ตลาดลงทุนเชื่อว่ามีความน่าจะเป็นมากกว่า 88% ของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมีนาคม และพวกเขากําลังเชื่ออย่างเต็มที่ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนพฤษภาคม สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความคาดหวังที่เกิดขึ้นในหมู่นักลงทุนต่อการผ่อนคลายนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้ เนื่องจาก US Core PCE (วิธีการวัดว่าราคาเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร) ไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้คนจึงคิดมากยิ่งขึ้นว่าเฟดอาจตัดสินใจวางนโยบายการเงินได้ง่ายขึ้น เพื่อช่วยเรื่องต่างๆ ในระบบเศรษฐกิจ นักลงทุนมีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญไปที่การประกาศจํานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก และยอดขายบ้านที่รอปิดการขายจากสหรัฐฯ ในวันพฤหัสบดี


NZDUSD ยังคงปรับตัวขึ้นเหนือโดยเล็งเป้าไปที่แนวต้าน 0.6400 (27 ธันวาคม 2566)

  • ดอลลาร์นิวซีแลนด์กําลังเข้าใกล้บริเวณแนวต้านที่เกี่ยวข้องกับ 0.6400
  • ความเชื่อมั่นของตลาดเกี่ยวกับความหวังว่าจะลดอัตราดอกเบี้ยในปี 2024 กําลังกดดันดอลลาร์สหรัฐ
  • คาดว่า NZD/USD จะปรับตัวขึ้นอีกในปี 2024 – ANZ

ดอลลาร์นิวซีแลนด์ยังคงรักษาแนวโน้มขาขึ้นในระยะสั้นเอาไว้ได้ และยังคงปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ราคาปรับฐานอยู่ใกล้กับระดับสูงสุดในรอบห้าเดือนที่ 0.6330 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนในตลาด

ความเสี่ยงที่ยอมรับได้กําลังเป็นปัจจัยขับเคลื่อนตลาดในช่วงหลังเทศกาลที่สงบเงียบ นักลงทุนกำลังร่าเริงเมื่อเห็นจุดเปลี่ยนวัฏจักรการคุมเข้มนโยบายการเงินทั่วโลก

นักลงทุนเชื่อว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะยกเลิกนโยบายเข้มงวดตั้งแต่เดือนมีนาคม โดยธนาคารกลางหลักอื่นๆ จะตามมาหลังจากนั้นไม่นาน เหตุการณ์นี้คาดว่าจะส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจและหลีกเลี่ยงภาวะถดถอยทั่วโลก ในขณะเดียวกันก็สนับสนุนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงเช่นเงินกีวี และทําลายค่าดอลลาร์สหรัฐในฐานะสกุลเงินสำรองปลอดภัย

ในวันนี้ไม่มีข่าวเศรษฐกิจสำคัญ และสองตัวเลขเศรษฐกิจเดียวที่ควรค่าแก่การกล่าวถึงในสัปดาห์นี้คือจํานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ และยอดขายบ้านมือสองซึ่งจะประกาศในวันพฤหัสบดี

จากปัจจัยเหล่านี้ การที่นักลงทุนยอมรับความเสี่ยงได้มากขึ้นคาดว่าจะผลักดันตลาดสกุลเงิน ก่อนที่จะมีการประกาศข้อมูลเศรษฐกิจมหภาคที่เกี่ยวข้องในสัปดาห์แรกของปี 2024

NZDUSD คาดว่าจะปรับตัวขึ้นในปีหน้า – ANZ

จากมุมมองที่กว้างขึ้น ทีมวิเคราะห์ทางเทคนิคของธนาคาร ANZ มองว่าราคาจะปรับตัวขึ้นในปี 2024: “เราคิดว่า NZD มีที่ว่างที่จะปรับตัวขึ้นในปี 2024 แต่ก็ยังมีความผันผวน การคาดการณ์ของเราสําหรับ NZDUSD ในช่วงสิ้นปีคือการไปถึง 0.63 ในปี 2024 (…) เนื่องจากผู้คนทั่วโลกเต็มใจที่จะรับความเสี่ยงได้มากขึ้น และเพราะเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์มีข้อได้เปรียบบางประการ เราจึงคิดว่า NZD จะแข็งค่าขึ้นในปี 2024 มุมมองที่เชื่อว่า USD จะเป็นขาลงของเรา และแนวโน้มวัฏจักรขาขึ้นเป็นลางดีสําหรับสกุลเงินที่ได้รับความนิยมสูงเช่น NZD”

ระดับราคาทางเทคนิคที่ต้องจับตามอง


Rabobank ประเมินสหรัฐฯ “เงินเฟ้อลดต่ำ อัตราว่างงานสูงขึ้น และดอกเบี้ยต่ำลงใน 2024” (22 ธันวาคม 2566)

เนื่องจากปี 2023 กําลังจะสิ้นสุดลง ก็ถึงเวลาที่จะจับตาดูเหตุการณ์ปี 2024 ซึ่งนักยุทธศาสตร์ที่ Rabobank ร่างการคาดการณ์สถานการณ์พื้นฐานของพวกเขาสําหรับปีหน้า ดังนี้

เป็นปีที่มีเหตุการณ์สําคัญมากมาย

เราคาดว่าปี 2024 จะเริ่มต้นด้วยการต่อสู้ด้านงบประมาณและความท้าทายจากการ shutdown ของรัฐบาลถึงสองสเตป เราคาดว่าการเพิ่มขึ้นของอัตราการว่างงานจะเด่นชัดมากขึ้นและนําไปสู่ภาวะถดถอยในช่วงครึ่งแรกของปี สิ่งนี้ควรโน้มน้าวให้ FOMC เปลี่ยนจากวงจรการขึ้นดอกเบี้ยเชิงรุก ไปสู่วงจรการลดดอกเบี้ยอย่างระมัดระวังภายในกลางปี

ในเดือนพฤศจิกายน ชาวอเมริกันจะลงคะแนนเสียงเลือกประธานาธิบดีคนต่อไป สภาผู้แทนราษฎร และประมาณหนึ่งในสามของวุฒิสภา โดยในขณะที่เขียนข่าวนี้ ดูเหมือนว่าเรากําลังมุ่งหน้าสู่การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองครั้งใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะมีผลกระทบที่สําคัญสําหรับส่วนอื่น ๆ ของโลกด้วย


ยังเร็วเกินไปที่จะบอกว่าเริ่มผ่อนคลายนโยบายการเงินแล้ว – รองประธาน ECB (21 ธันวาคม 2566)

ตามรายงานของรอยเตอร์ ในการให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ 20 Minutos ของสเปนเมื่อวันพฤหัสบดี นาย ลูอิส เด กินโดส (Luis de Guindos) รองประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) กล่าวว่ายังเร็วเกินไปที่จะบอกว่าเริ่มผ่อนคลายนโยบายการเงินแล้ว

ลูอิส เด กินดอส เสริมว่าธนาคารกลางยุโรปไม่คิดว่าจะเกิดภาวะถดถอยทางเทคนิคในยูโรโซน และกล่าวว่าพวกเขาจะยินดีรับข้อตกลงเกี่ยวกับการปฏิรูปการคลังของสหภาพยุโรป เพราะจะช่วยลดความไม่แน่นอนในตลาดได้

ปฏิกิริยาของตลาด

EURUSD ไม่แสดงปฏิกิริยาต่อความคิดเห็นเหล่านี้ทันที ในขณะที่รายงานข่าวนี้ ราคาในวันนี้แทบไม่เปลี่ยนแปลง เคลื่อนไหวอยู่ที่ 1.0945


Scotiabank ประเมิน EURUSD “โมเมนตัมตลาดที่ซ่อนอยู่ยังคงเป็นไปในขาขึ้น” (20 ธันวาคม 2566)

EUR/USD กําลังปรับฐานกลับมาบ้างหลังจากการวิ่งขาขึ้นหยุดลงใต้ระดับ 1.10 เล็กน้อยในวันอังคาร โดยนักเศรษฐศาสตร์ที่ Scotiabank วิเคราะห์มุมมองคู่สกุลเงินดังกล่าวดังกล่าว ดังนี้

พื้นที่สําหรับการอ่อนตัวนั้นมีจํากัด

การเดิมพันในตลาด – ในปัจจุบัน – ว่าเฟดมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนจุดยืนก่อนที่อื่น ๆ ในหมู่ธนาคารกลางรายใหญ่ที่ต้องการผ่อนคลายทางนโยบายในปีหน้า ยังคงผลักดันความเชื่อมั่นเชิงบวกให้มากขึ้นและหนุนค่าเงิน EUR

การอ่อนค่าลงไปต่ำกว่าแนวรับที่ 1.0945 เล็กน้อย อาจทำให้ราคาสปอตคลายระดับลงอีกเล็กน้อยในระยะสั้น แต่แนวโน้มโมเมนตัมพื้นฐานยังคงเป็นบวกสำหรับ EUR และพื้นที่ของการอ่อนตัวลงนั้นมีจํากัด

แนวรับที่มั่นคงขึ้นควรเกิดขึ้นที่บริเวณระดับ 1.09 ด้านแนวต้านอยู่ที่ 1.1015/1.1020


“เราจะไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกแล้ว” – หนึ่งในคณะกรรมการ ECB (19 ธันวาคม 2566)

สมาชิกสภาธนาคารกลางยุโรป (ECB) และประธานธนาคารแห่งฝรั่งเศสนายฟรังซัวส์ วิลเลอรอย เดอ กาลฮาวกล่าวเมื่อวันอังคารว่า “เราจะไม่ขึ้นดอกเบี้ยอีกต่อไป”

ความเห็นเพิ่มเติม

การเติบโตของฝรั่งเศสลดลงเล็กน้อย แต่ไม่มีภาวะถดถอยเหมือนที่กลัวเมื่อปีที่แล้ว

อัตราเงินเฟ้อจะยังคงชะลอตัวลง

การเติบโตจะเพิ่มขึ้นอีกครั้งในปี 2025 และ 2026 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในการควบคุมแล้ว

อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 2% ภายในสิ้นปี 2025

เราจะสามารถลดอัตราดอกเบี้ยได้

นับจากตรงนี้ ค่าจ้างจะเพิ่มขึ้นเร็วกว่าราคา

การลดอัตราดอกเบี้ยควรเกิดขึ้น “สักระยะหนึ่ง” ในปี 2024

การว่างงานของฝรั่งเศสอาจเพิ่มขึ้นไปอยู่ระหว่าง 7.5% ถึง 8%

ปฏิกิริยาของตลาด

EURUSD ไม่ตอบสนองตามความคิดเห็นข้างต้น ราคายังคงเคลื่อนไหวอยู่ในระดับสูงใกล้ 1.0930 เพิ่มขึ้น 0.05% ในวันนี้


สมาชิกเฟด Mester มอง “ตลาดกำลังประเมินเกินเหตุไปสำหรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ย” (18 ธันวาคม 2566)

ลอเรตตา เมสเตอร์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) แห่งคลีฟแลนด์กล่าวกับสื่อของไฟแนนเชียลไทมส์เมื่อวันจันทร์ว่า ตลาดกําลัง ‘ประเมินเกินเหตุ’ ไปเล็กน้อยเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ตามรายงานจากรอยเตอร์

“ระยะการดำเนินการต่อไปยังไม่ใช่เวลาที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย แม้ว่านั่นดูเหมือนจะเป็นช่วงเวลาที่ตลาดอยู่ (คาดการณ์) ก็ตาม” นายเมสเตอร์กล่าวเสริมและกล่าวว่าระยะการดำเนินการครั้งต่อไป จะเกี่ยวกับช่วงเวลาที่พวกเขาต้องการให้นโยบายทางการเงินคงความเข้มงวดเอาไว้

ปฏิกิริยาของตลาด

ดัชนีดอลลาร์สหรัฐ (USD) (ซึ่งติดตามผลลัพท์ของมูลค่า USD เทียบกับตะกร้าสกุลเงินหลัก ๆ หกสกุลเงิน) ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยหลังจากรายงานความคิดเห็นเหล่านี้ ดัชนีดอลลาร์แทบจะไม่เปลี่ยนแปลงในรายวัน อยู่ที่ระดับ 102.56


คาดการณ์ XAUUSD: ทองคำเตรียมพร้อมที่จะมุ่งหน้าขึ้นไปยัง $2,060 (15 ธันวาคม 2566)

ราคาทอง (XAUUSD) คําพุ่งขึ้นเหนือระดับ 2,000 ดอลลาร์ นักเศรษฐศาสตร์จากธนาคาร ANZ วิเคราะห์แนวโน้มทางเทคนิคของทองคำเอาไว้ดังนี้

ทองคำยังคงเป็นแนวโน้มขาขึ้น

ราคาทองคําดีดตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งหลังจากปรับฐานที่ 1,980 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นแนวรับแรก ราคาทองคำยังคงวิ่งสูงกว่าเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 100 วันและ 200 วัน โมเมนตัมขาขึ้นจึงยังคงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง

การทะลุระดับแนวต้านที่ 2,060 ดอลลาร์จะเป็นเหตุการณ์สําคัญ เราคาดว่าแรงซื้อทางเทคนิคจะเกิดขึ้น ซึ่งผลักดันราคาให้ขึ้นไปสู่ดินแดนที่ไม่เคยมีมาก่อนเหนือ $2,100

คาดการณ์ XAUUSD: ทองคำอาจแตะ $2,150 ภายในช่วงครึ่งหลังของปี 2024 – Commerzbank


ดอลลาร์สหรัฐจะรีบาวด์กลับขึ้นมา – NBF (14 ธันวาคม 2566)

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นในเดือนที่ผ่านมา นักเศรษฐศาสตร์ที่ธนาคารแห่งชาติแคนาดาวิเคราะห์ภาพรวมของเงินดอลลาร์เอาไว้ดังนี้

การอ่อนค่าลงนั้นเกินความคาดหมาย

การคาดการณ์ว่าจะเกิดสถานการณ์ Goldilocks ได้ผลักดันให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรลดลง เพิ่มความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงและทําลายมูลค่าของดอลลาร์สหรัฐ ท้ายที่สุด ถ้าฉากทัศน์ความเสียหายที่เลวร้ายที่สุดที่มีต่อเศรษฐกิจได้ผ่านไปแล้ว เราไม่จําเป็นต้องมีสินทรัพย์ปลอดภัยแล้วใช่หรือไม่? เราไม่คิดเช่นนั้น

แม้ว่าเราเองก็จะคาดหวังว่าให้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปี 2024 ด้วยเช่นกัน แต่การลดดอกเบี้ยจะเกิดขึ้นเพราะเศรษฐกิจที่แท้จริงกำลังมีปัญหา ไม่ใช่จากภาวะเงินฝืดอย่างสมบูรณ์แบบ ด้วยเหตุนี้ เราจึงคาดว่า USD จะกลับมา


ควรมีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับ USD อย่างระมัดระวังเพราะความคาดหวังการปรับลดอัตราดอกเบี้ยสูง (13 ธันวาคม 2566)

ธนาคารเฟดสหรัฐฯ เริ่มต้นการประชุมสองวันที่น่าตื่นเต้นเมื่อ 5 ธนาคารกลางจากกลุ่ม G10 มารวมตัวกันเพื่อประชุมตามกำหนดการ Michael Pfister นักวิเคราะห์ตลาดสกุลเงินของ Commerzbank วิเคราะห์ภาพรวมของดอลลาร์สหรัฐก่อนการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยดังต่อไปนี้

พาวเวลล์จะสามารถโน้มน้าวตลาดว่าเฟดยังคงเป็นสายเหยี่ยวอยู่ได้หรือไม่? 

การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมมีแนวโน้มว่าจะไม่ได้อยู่ในการพิจารณา แต่เฟดไม่น่าจะพอใจกับขอบเขตเวลาการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ตลาดกำลังเก็งกัน ท้ายที่สุด อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ลดลงอาจจุดชนวนความเสี่ยงด้านเงินเฟ้ออีกครั้ง ดังนั้น ประธานเฟดเจอโรม พาวเวลล์ (Jerome Powell) จะยังคงเน้นความเสี่ยงที่อัตราเงินเฟ้อยังคงมี คําถามคือเขาจะประสบความสําเร็จตามเป้าหมายหรือไม่

งานพาวเวลล์ไม่ได้ง่าย เขาต้องโน้มน้าวตลาดว่าเฟดยังดำเนินนโยบายแบบ Hawkish อยู่ แต่คำพูดของเขาต้องฟังดูไม่เหยี่ยวเกินไปเพื่อให้ตัวเองมีตัวเลือกในการลดอัตราดอกเบี้ยในปีหน้าหากข้อมูลเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี ดังนั้น พาวเวลล์จึงอยู่ในจุดที่ยากลําบาก

อย่างไรก็ตาม ความประหลาดใจที่จะได้เห็นท่าที Dovish มีโอกาสน้อยเพราะความคาดหวังในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนั้นมีมากอยู่แล้ว ตัวเลขเงินเฟ้อในวันอังคารและข้อมูลการจ้างงานในวันศุกร์แสดงให้เห็นว่าเรายังคงเห็นการแข็งค่าของดอลลาร์แม้เป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ ดังนั้น วันนี้ผมยังคงมีความเชื่อมั่นกับการแข็งค่าของดอลลาร์อย่างระมัดระวัง ข่าว forex


EURUSD ย่อตัวลงจากจุดสูงสุดเหนือบริเวณ 1.0800 หลังจากประกาศตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ (12 ธันวาคม 2566)

  • ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงหลังจากรายงาน CPI ของสหรัฐฯ เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้
  • ขณะนี้ทุกสายตาจับจ้องไปที่การแถลงนโยบายการเงินของเฟดในวันพุธ
  • แนวโน้มของ EURUSD ในตอนนี้ยังคงเป็นขาลงในขณะที่ยังวิ่งอยู่ต่ำกว่า 1.0815

เงินยูโรแข็งค่าขึ้น แต่จบลงด้วยการอ่อนค่าในสถานการณ์ที่อัตราผลตอบแทนของสหรัฐฯ เด้งขึ้น ส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐสูงขึ้นเล็กน้อยหลังจากข้อมูล CPI ของสหรัฐฯ เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้

ในเดือนพฤศจิกายน ดัชนีราคาผู้บริโภคยังคงเท่าเดิม ซึ่งแตกต่างจากที่คนส่วนใหญ่คิดว่าจะเกิดขึ้น พวกเขาคาดว่าตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มขึ้น 0.1% อัตราเงินเฟ้อรายปีลดลงเหลือ 3.1% จาก 3.2% ในเดือนก่อนหน้า ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นที่ 0.3% เมื่อเทียบรายเดือน และ 4.0% เมื่อเทียบเป็นรายปี ตามที่คาดไว้

ตัวเลขเหล่านี้ไม่สามารถช่วยคาดการณ์เส้นทางนโยบายการเงินของเฟดที่ชัดเจนได้ แลคาดว่าผลการประชุมนโยบายการเงินสองวันจะออกมาเป็นการคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ดังเดิม ถ้อยแถลงของธนาคารกลาง โดยเฉพาะการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ย, สิ่งที่เรียกว่า dot-plot, และการแถลงข่าวของประธานเฟดเจอโรม พาวเวลล์จะถูกจับตามองอย่างละเอียดรอบคอบ

การวิเคราะห์คู่สกุลเงิน EURUSD ทางเทคนิค

ภาพทางเทคนิคยังคงไม่เปลี่ยนแปลง คู่กราฟยังคงปรับฐานอยู่เหนือระดับ 50% Fibonacci retracement ของขาขึ้นในเดือนตุลาคม – พฤศจิกายนที่ 1.0730

แนวต้านแรกยังคงอยู่ที่ 1.0815 ซึ่งตรงกับระดับสูงสุดก่อนหน้านี้ในกราฟ 4 ชั่วโมง 50 SMA และ 1.0880 จะเป็นแนวต้านต่อไป แนวรับอยู่ที่ 1.0730 และจุดต่ำสุดในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ 1.0660

ระดับราคาทางเทคนิคที่ต้องจับตามอง


ING ประเมิน EURGBP “จะซื้อขายอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่าในช่วงสิ้นปีนี้” (11 ธันวาคม 2566)

สกุลเงินปอนด์สเตอร์ลิงมีความสุขกับช่วงเวลาของเดือนพฤศจิกายน (วิ่งบวก) โดยนักเศรษฐศาสตร์ที่ ING วิเคราะห์แนวโน้มทิศทางของ GBP ช่วงก่อนการประชุมธนาคารแห่งชาติอังกฤษ (BOE)

EUR/GBP ควรกลับขึ้นไปที่บริเวณระดับ 0.88 ในปีหน้า ข่าว forex

ในแง่ของความเสี่ยงต่อเงินสเตอร์ลิงและสกุลเงินจากการประชุม BoE ประจำเดือนธันวาคม เรามักจะคิดว่ามันเร็วเกินไปที่ BoE จะยอมรับความคาดหวังที่ผ่อนคลายแม้ว่าความคาดหวังเหล่านั้นจะอ่อนตัวลงมากขึ้นในยูโรโซน นี่อาจหมายความว่า EUR/GBP ยังคงซื้อขายในด้านที่อ่อนตัวลงจนถึงสิ้นปีนี้ ซึ่งอาจอยู่ในช่วง 0.8500-0.8600

อย่างไรก็ตาม ในปี 2024 เราคาดว่าราคาตลาดจะทรงตัว – ซึ่งน้อยกว่าที่จะถูกตีราคาสําหรับ ECB แต่มากกว่าสําหรับสหราชอาณาจักรและคู่เงิน EUR/GBP ควรกลับมาที่บริเวณระดับ 0.88 แต่นั่นเป็นเรื่องราวสําหรับปีหน้า


โปลิทบูโรของจีนเผย “จะคงนโยบายทางการเงินที่รอบคอบในระหว่างปี 2024” (8 ธันวาคม 2566)

โปลิทบูโรของพรรคคอมมิวนิสต์จีนออกแถลงการณ์หลังการประชุมในวันศุกร์ ดังนี้

ประเด็นที่สําคัญ

จะยังคงดําเนินนโยบายการคลังเชิงรุกต่อไปในปี 2567

จะคงนโยบายการเงินที่รอบคอบในปี 2567

นโยบายการคลังเชิงรุกจะแข็งแรงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

นโยบายการเงินที่รอบคอบจะมีความยืดหยุ่นและแม่นยํามากขึ้น

จะเสริมสร้างนโยบายเศรษฐกิจมหภาคทั้งที่สวนทางกับวัฏจักรและมีผลข้ามวัฏจักร

จะปรับปรุงความยืดหยุ่นและความปลอดภัยของห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรม

จะขยายอุปสงค์ในประเทศ

จะทําให้การปฏิรูปในประเด็นสําคัญลึกซึ้งยิ่งขึ้น

จะขยายระดับของการเปิดประเทศ

จะทําให้การค้าและเงินทุนต่างประเทศมีเสถียรภาพ

จะยังคงมีประสิทธิภาพในการป้องกันและป้องกันความเสี่ยงในพื้นที่สําคัญ

จะเพิ่มความสอดคล้องของนโยบายเศรษฐกิจมหภาค

จะเดินหน้าทํางานต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

จะแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันเชิงอุตสาหกรรม เชิงระบบและในระดับภูมิภาคอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น

ในปัจจุบันการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศของเรายังอยู่ในช่วงวิกฤต

ปฏิกิริยาของตลาด

ในขณะที่เขียนข่าว AUD/USD ซื้อขายคงที่บริเวณระดับ 0.6600 โดยไม่ได้ให้ความสนใจกับรายงานความคิดเห็นข้างต้น


วิเคราะห์โครงสร้างเมฆอิจิโมขุของ EURUSD (7 ธันวาคม 2566)

EUR/USD กำลังปรับตัวขาลงจากแรงกระตุ้นตลาดเชิงลบ ปัจจุบันคู่สกุลเงินดังกล่าวซื้อขายอยู่ใต้โครงสร้างเมฆอิจิโมขุ (Ichimoku Cloud) ซึ่งบ่งบอกถึงแนวโน้มขาลง โดยคาดว่าการทดสอบระดับโครงสร้าง Tenkan-Sen ที่ 1.0785 ตามด้วยการลดระดับลงมาที่ 1.0585 สัญญาณตลาดเพิ่มเติมยืนยันการปรับตัวขาลงจะเป็นการกลับตัวจากขอบเขตด้านบนของกรอบเทรนด์ไลน์ลาดลง สถานการณ์นี้อาจถูกยกเลิกไปได้โดยการทะลุขอบเขตด้านบนของโครงสร้างรูปเมฆดังกล่าว และพบฐานราคาที่เหนือระดับ 1.0965 ซึ่งจะหมายถึงการปรับตัวขาขึ้นต่อไปถึงระดับ 1.1055

ข่าว forex eur/usd


Scotiabank มองว่า “พื้นที่ในการฟื้นตัวของดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ชัดเจนได้ลดลงไปมาก” (6 ธันวาคม 2566)

โมเมนตัมการปรับตัวขาลงของ USD ทรงตัวแต่ยังคงมีปัจจัยกดดันอยู่ นักเศรษฐศาสตร์ที่ Scotiabank รายงาน

ปกติแล้วเดือนธันวาคมจะเป็นเดือนที่ USD อ่อนค่า

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ได้ฟื้นตัวขึ้นบางส่วนในวันนี้ ซึ่งสะท้อนจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยและข้อมูลของยูโรโซนที่อ่อนแอลง อย่างไรก็ตามนั่นไม่ได้หมายความว่าจะมีพื้นที่ในการฟื้นตัวของดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างชัดเจน

แนวโน้มตลาดในมุมที่กว้างขึ้นยังคงเป็นขาลง และปกติแล้วเดือนธันวาคมจะเป็นเดือนที่ USD อ่อนค่าในวงกว้าง (เฉลี่ยผลลัพท์ที่ประมาณ -0.9% ในเดือนธันวาคม ตลอดช่วง 25 ปีที่ผ่านมา)

กระแสการปรับสมดุลพอร์ตช่วงสิ้นเดือนที่คาดว่าจะเป็นปัจจัยลบต่อ USD ยังไม่ปรากฏขึ้น แต่รายงานข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในวันนี้อาจทำให้ภาวะขาลงของ USD กลับมา โดยข้อมูลในวันนี้คาดว่าจะสะท้อนถึงตลาดแรงงานที่อ่อนตัวลง (จากจํานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่เพิ่มขึ้น) การใช้จ่ายที่ชะลอตัวลง และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่อ่อนแอลงผ่านดัชนี PCE (ที่คาดการณ์ไว้ที่ 3.5% YoY  เทียบกับ 3.7% ในเดือนกันยายน)


UOB รายงาน เงินเฟ้อของอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นอีกในพ.ย. (5 ธันวาคม 2566)

นักเศรษฐศาสตร์จาก UOB Group นาย Enrico Tanuwidjaja และนักเศรษฐศาสตร์รุ่นใหม่ Agus Santoso ให้การรีวิวตัวเลขเงินเฟ้อล่าสุดในอินโดนีเซีย ดังนี้

ข้อความอ้างอิงสําคัญ

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของอินโดนีเซียในเดือนพฤศจิกายนเพิ่มขึ้นเป็น 2.9% จากช่วงเดียวกันปีก่อน เทียบกับที่ 2.6% ในเดือนต.ค. เมื่อส่วนประกอบจากอาหารและการขนส่งที่สูงขึ้น โดยปัจจัยหลักที่ผลักดันให้ราคาอาหารสูงขึ้นคือปรากฏการณ์เอลนีโญที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นไตรมาส 3/2566 ส่งผลให้ปริมาณน้ำในไร่นาต่าง ๆ ลดลง นอกจากนี้การเปลี่ยนผ่านของฤดูแล้งเป็นฤดูฝนในเดือนพฤศจิกายนยังส่งผลต่อการเก็บเกี่ยวข้าว แต่ในทางกลับกัน อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในองค์ประกอบการขนส่งได้รับแรงหนุนจากค่าโดยสารเครื่องบินและรถยนต์ที่สูงขึ้นเนื่องจากบริการโลจิสติกส์ที่เพิ่มขึ้นในช่วงปลายปี

เรายังคงมองว่าอัตราเงินเฟ้อในปี 2566 จะผ่อนคลายลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว (2565: 4.2%) เนื่องจากสาเหตุหลายประการ เช่น การบริโภคภาคครัวเรือนที่ลดลงและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นเป็นเวลานานขึ้น อย่างไรก็ตาม เราคาดว่าความเสี่ยงจากภาวะเอลนีโญที่ยืดเยื้อและการเปลี่ยนจากฤดูแล้งเป็นฤดูฝนอาจเพิ่มความเสี่ยงขาขึ้นให้กับอัตราเงินเฟ้อด้านอาหารในระยะสั้นได้ นอกจากนี้ แนวโน้มการเพิ่มความคล่องตัวของผู้คนในเดือนธันวาคมเพื่อเฉลิมฉลองปีใหม่ยังส่งผลกระทบต่อราคาตั๋วเครื่องบินที่จะสูงขึ้นตามฤดูกาล ปัจจัยเหล่านี้คาดว่าจะส่งผลให้เกิดความเสี่ยงขาขึ้นในอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในไตรมาส 4/2566


มีโอกาสที่ USDTHB จะปรับตัวลดลงไปที่ 34.58 – UOB (4 ธันวาคม 2566)

Quek Ser Leang นักกลยุทธ์ตลาดลงทุนของกลุ่มธนาคารยูโอบีให้ความเห็นว่าในอนาคตอันใกล้ การปรับตัวลดลงไปถึงระดับ 34.58 ของ USDTHB  ยังเป็นไปได้

ข้อความอ้างอิง

ในวันพุธที่ผ่านมา USDTHB อ่อนค่าลงสู่ระดับต่ำสุดที่ 34.58 ก่อนจะปิดตลาดสัปดาห์นั้นด้วยการอ่อนค่าไปที่ 34.85 (-1.32%) โมเมนตัมขาลงเพิ่มขึ้น แม้ว่าจะไม่มากนัก

ในสัปดาห์นี้ ตราบใดที่ USDTHB ยังอยู่ต่ำกว่า 35.22 (แนวต้านรองอยู่ที่ 35.00) คู่กราฟอาจปรับตัวลดลงต่ำกว่า 34.58 ก่อนที่จะมีแนวโน้มดีดตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง แนวรับหลักที่ 34.08 ไม่น่าจะลงไปถึง


ธนาคารแห่งประเทศไทยคงอัตราดอกเบี้ยเอาไว้ดังเดิมตามคาดการณ์ – UOB (1 ธันวาคม 2566)

นักเศรษฐศาสตร์จาก UOB Group นาย Enrico Tanuwidjaja และ Sathit Talaengsatya ให้ความเห็นเกี่ยวกับการประชุมนโยบายการเงินล่าสุดของธนาคารกลางแห่งประเทศไทย (BoT) เอาไว้ดังนี้

ข้อความอ้างอิง ข่าว forex

ในการประชุมครั้งสุดท้ายประจําปี 2023 เมื่อวันที่ 29 พ.ย. คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50% โดยให้เหตุผลว่าอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันมีความเหมาะสมในบริบทของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ กนง. ยังส่งสัญญาณว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายในอนาคตจะยังคงอยู่ในระดับสูง เพราะการเติบโตกําลังเข้าใกล้วิถีที่คาดการณ์ท่ามกลางการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อที่ดีภายในกรอบเป้าหมายของ ธปท. ที่ 1% -3%

อย่างไรก็ดี กนง. ได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจสําหรับปี 2566 ลงเหลือ 2.4% จากที่คาดการณ์ไว้ที่ 2.8% ในเดือน ก.ย. เนื่องจากอุปสงค์ภายนอกที่อ่อนแอลงและการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวที่ช้ากว่าคาด ประกอบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนของจีน ในปี 2024 กนง. ได้ปรับลดประมาณการการเติบโตลงเหลือ 3.8% จาก 4.4% รวมถึงการกระตุ้นนโยบายกระเป๋าเงินดิจิทัล และหากไม่รวมผลกระทบจากนโยบาย ก็คาดว่าจะขยายตัวได้เพียง 3.2% เท่านั้น สําหรับแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ ตัวเลขทั่วไปในปี 2023 คาดว่าจะอยู่ในระดับต่ำที่ 1.3% และ 2.0% ในปี 2024 อย่างไรก็ตาม หากรวมผลกระทบของนโยบายกระเป๋าเงินดิจิทัลแล้ว อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสําหรับปี 2024 คาดว่าจะเร่งตัวขึ้นเป็น 2.2% เทียบกับการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ 1.6% สําหรับปี 2023 และ 2.6% สําหรับปี 2024

สําหรับวัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบัน เรายังคงมองว่า ธปท. ได้ปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นค่ากลางที่ 2.50% และอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปี 2024 น่าจะไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเงินมหภาคและความจําเป็นในการรักษาพื้นที่นโยบายที่เพียงพอ นอกจากนี้ ธนาคารกลางแห่งประเทศไทยยังย้ำถึงความจําเป็นในการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้สอดคล้องกับศักยภาพทางเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาคในระยะยาว


ANZ คาดการณ์ราคาทองคำ XAUUSD จะซื้อขายเหนือแนว $2,000 ในปีหน้า (30 พฤศจิกายน 2566)

ราคาทองคําพุ่งขึ้นทะลุระดับ 2,000 ดอลลาร์ หลังจากเฟดส่งสัญญาณในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปี 2024 โดยนักเศรษฐศาสตร์ที่ ANZ Bank วิเคราะห์มุมมองของทองคำ ดังนี้

การซื้อของธนาคารกลางที่แข็งแกร่งจะร่วมกับความต้องการในการลงทุนเชิงกลยุทธ์

ทองคําได้รับอานิสงส์ทั้งจากวิกฤตทางภูมิรัฐศาสตร์และการเทขายเงินดอลลาร์สหรัฐเมื่อเร็ว ๆ นี้

ความต้องการด้านการลงทุนซึ่งส่วนใหญ่ขาดความแข็งแรงในปีนี้ กําลังแข็งแกร่งขึ้น

ข้อมูลทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอกว่าคาดจะช่วยหนุนการคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงต้นของธนาคารกลางสหรัฐ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อที่ถอยกลับจะเพิ่มความเสี่ยงของอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่เพิ่มขึ้นในครึ่งปีแรกของปี 2024 การปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงปลายปีควรสนับสนุนความต้องการในการลงทุนในทองคํา

เราคาดว่าทองคําจะซื้อขายเหนือแนวระดับ $2,000 ในปีหน้า เนื่องจากการซื้อของธนาคารกลางที่แข็งแกร่งจะเข้าร่วมกับความต้องการในการลงทุนเชิงกลยุทธ์


ดูเหมือนว่าบอนด์ยีลด์ 10 ปีสหรัฐฯ พร้อมแล้วที่จะปรับตัวลดลง (29 พฤศจิกายน 2566)

นักเศรษฐศาสตร์จาก Société Générale วิเคราะห์ภาพรวมพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปีที่สามารถทลายแนวรับสําคัญ 4.36% เอาไว้ดังนี้

การไม่สามารถกลับขึ้นไปยืนเหนือ 4.36% อาจหมายความว่าแนวโน้มขาลงจะคงอยู่

บอนด์ยีลด์สหรัฐฯ 10 ปี ได้กลับเข้าไปอยู่ในกรอบราคาเดิมที่เคยเคลื่อนไหวในช่วงหลายเดือนก่อนหน้าอีกครั้ง ซึ่งแสดงถึงความแข็งแกร่งของโมเมนตัมขาลงอย่างต่อเนื่อง เหตุการณ์นี้ยังถูกเน้นโดย MACD รายวันซึ่งเพิ่งจะเข้าสู่แดนลบ

การไม่สามารถฟื้นตัวกลับขึ้นไปยืนเหนือระดับต่ำสุดในสัปดาห์ที่แล้วที่ 4.36% อาจหมายความว่าแนวโน้มขาลงจะคงอยู่

บอนด์ยีลด์สหรัฐฯ 10 ปีมีแนวโน้มลดลงสู่เป้าหมายที่เป็นไปได้ถัดไป ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 4.16%/4.13% และจุดสูงสุดในเดือนมีนาคม/กรกฎาคมที่ 4.08% ข่าว forex


ตลาดโกลด์ฟิวเจอร์ส มีการแรงปรับตัวขาขึ้นที่ไร้ปัจจัยหนุน (28 พฤศจิกายน 2566)

ข้อมูลแฟลชของ CME Group สําหรับตลาดทองคําฟิวเจอร์สระบุว่า นักลงทุนในตลาดปรับลดจำนวนสัญญาคงค้างลงเป็นวันที่สามติดต่อกันในวันจันทร์ โดยคราวนี้ลดลงประมาณ 2,300 สัญญา ด้านปริมาณการซื้อขายกลับมาขยายการเพิ่มขึ้นรายวันก่อนหน้านี้และเพิ่มขึ้นประมาณ 103,300 สัญญา

กราฟทองคำพบเป้าหมายขาขึ้นถัดไปที่จุดสูงสุดในปี 2023

ราคาทองคําขยายการวิ่งขาขึ้นในเดือนมีนาคมเหนือระดับ $2,000 เมื่อต้นสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นพร้อมกับจำนวนสัญญาคงค้างที่ลดลง ซึ่งควรลดความแข็งแกร่งออกจากการปรับตัวขาขึ้นในราคาทองคำในระยะสั้น ในขณะเดียวกันเป้าหมายแรกสําหรับแรงตลาดกระทิงทองคำพบว่าอยู่ที่ระดับสูงสุดในปี 2023 ใกล้ระดับ 2,070 ดอลลาร์ต่อทรอยออนซ์ (4 พฤษภาคม)

gold


จีนจัดการประชุมโปลิตบูโรของพรรคคอมมิวนิสต์ในวันจันทร์ (27 พฤศจิกายน 2566)

จีนจัดการประชุมโปลิตบูโรของพรรคคอมมิวนิสต์เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน โดยมีประเด็นสําคัญดังต่อไปนี้

จําเป็นต้องเสริมสร้างความเป็นผู้นําแบบรวมศูนย์ และเป็นหนึ่งเดียวของคณะกรรมการกลางพรรคเกี่ยวกับงานด้านการต่างประเทศ

จําเป็นต้องเร่งสร้างระบบกฎหมาย และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศอย่างเป็นระบบและสมบูรณ์

จําเป็นต้องปรับปรุงงานด้านการต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • PBOC ออกประกาศเพื่อเสริมสร้างการสนับสนุนทางการเงินให้กับบริษัทเอกชน
  • ดอลลาร์ออสเตรเลียขยับใกล้ระดับสูงสุดในรอบสามเดือนเพราะความเชื่อมั่นของนักลงทุนในตลาด

นิวซีแลนด์จัดตั้งรัฐบาลใหม่สำเร็จแล้ว และจะมุ่งเป้าหมายไปที่การดำเนินการของ (24 พฤศจิกายน 2566)

หลังจากการเจรจานานกว่าหนึ่งเดือนเกี่ยวกับบทบาทและนโยบายระดับคำสั่งรัฐมนตรี พรรครัฐบาลแห่งชาติของนิวซีแลนด์ได้บรรลุข้อตกลงกับพรรค ACT ของนิวซีแลนด์และพรรคนิวซีแลนด์เฟิร์ส ในการจัดตั้งรัฐบาลผสมสามพรรคเป็นรัฐบาลถัดไปของประเทศนิวซีแลนด์ตามรายงานของรอยเตอร์

กลุ่มภรรคแนวร่วมประกาศการปฏิรูปนโยบายหลายชุด รวมถึงบทบาทของธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) ทางรัฐบาลจะแก้ไขพระราชบัญญัติธนาคารกลางนิวซีแลนด์ พ.ศ. 2564 เพื่อยกเลิกอาณัติสองทางเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อและการจ้างงาน และมุ่งเน้นไปที่เสถียรภาพของราคาสินค้าต่าง ๆ เท่านั้น

ปฏิกิริยาของตลาด

ในขณะที่รายงานข่าวนี้ คู่ NZD/USD ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.05% ในวันนี้ ซื้อขายที่ 0.6051


ราคาน้ำมันดิบเบรนท์จะถึงไปถึง $85 ต่อบาร์เรลในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 (23 พฤศจิกายน 2566)

นักกลยุทธ์ของ Commerzbank วิเคราะห์ภาพรวมของน้ำมันดิบว่าการที่ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ลดลงต่ำกว่า 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนถือเป็นจุดต่ำสุดในรอบสี่เดือน

ราคาน้ำมันมีโอกาสที่จะปรับตัวขึ้น

เราคาดว่าราคาน้ำมันเบรนท์จะเพิ่มขึ้นเป็น 85 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในช่วงครึ่งแรกของปี 2024

ตลาดน้ำมันมีแนวโน้มที่จะตึงตัวอีกครั้งในช่วงปีหน้า ซึ่งบ่งชี้ว่าราคาน้ำมันมีโอกาสที่จะเพิ่มขึ้นอีกเป็น 90 ดอลลาร์ภายในสิ้นปี 2024

อ่านเพิ่มเติม – น้ำมัน: ซาอุดิอาระเบียจะขยายเวลาลดการผลิตไปจนถึงปี 2024 หากพวกเขาต้องการให้ราคาน้ำมันอยู่เหนือ $80 ข่าว forex


หากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแย่ลง ทองคำเป็นสินทรัพย์คานความเสี่ยงที่ดี (22 พฤศจิกายน 2566)

นักเศรษฐศาสตร์จาก UBS วิเคราะห์แนวโน้มของโลหะสีเหลืองหรือราคาทองคําว่าจะแตะ 2,000 ดอลลาร์

ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยอาจทําให้ทองคําผันผวนในอนาคตอันใกล้

ทองคําเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้น

ท่ามกลางความไม่แน่นอนเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย นั่นอาจทําให้ทองคําขผันผวนในอนาคตอันใกล้ นักลงทุนที่ต้องการเพิ่มทองคําเข้าพอร์ตลงทุนสามารถพิจารณาซื้อออปชั่นของโลหะมีค่าได้ (ซื้อต่ำกว่า $ 1,900)

เราคิดว่านักลงทุนที่ถือทองคําขาขึ้นอยู่แล้วควรถือไว้เพื่อรอการฟื้นตัวในอีก 6-12 เดือนข้างหน้า


ดอลลาร์สหรัฐวันนี้อ่อนค่าต่อ – ING (21 พฤศจิกายน 2566)

นักเศรษฐศาสตร์จาก ING วิเคราะห์แนวโน้ม USD หรือดอลลาร์สหรัฐที่ยังคงอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องเอาไว้ดังนี้

จับตาข้อมูลยอดขายบ้านมือสองเดือน ต.ค.และรายงานการประชุม FOMC

เราคาดว่าดอลลาร์สหรัฐในวันนี้จะอ่อนค่าลงต่อเนื่องจากมีความเสี่ยงของข้อมูลยอดขายบ้านมือสองของสหรัฐฯ จะลดลงต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2010 และรายงานการประชุม FOMC ที่อาจจะระบุว่าความจำเป็นในการกระชับนโยบายการเงินมีน้อยลง

DXY เคลื่อนไหวอยู่ต่ำกว่าแนวรับที่ 103.45 (ที่ตอนนี้กลายเป็นแนวต้าน) และอาจร่วงลงไปที่ 102.95/103.00 หรืออาจจะถึง 102.55 ขึ้นอยู่กับข้อมูลเศรษฐกิจและรายงานการประชุมในวันนี้

อ่านเพิ่มเติม: EURUSD จะทะลุแนวต้าน 1.0960/1.0965 และทดสอบ 1.10 หากข้อมูลยอดขายบ้านมือสองของสหรัฐฯ ลดลง – ING ข่าว forex


ทิศทางและภาพรวมของ EURUSD เป็นขาขึ้น – Scotiabank (20 พฤศจิกายน 2566)

นักเศรษฐศาสตร์จาก Scotiabank วิเคราะห์ภาพรวมของ EURUSD ที่ปรับตัวขึ้นผ่าน 1.09 เอาไว้ดังนี้

ภาพรวมยังคงเป็นขาขึ้น

การสร้างจุดสูงสุดรองใหม่เของ EURUSD (ซึ่งคู่ EURUSD ขึ้นทดสอบจุดสูงสุดในช่วงปลายเดือนสิงหาคม) กําลังช่วยคงทิศทางและภาพรวมของ EURUSD ให้เป็นขาขึ้น

สัญญาณความแข็งแกร่งของเงินยูโรกำลังกําลังปรับทิศทางเป็นขาขึ้น ทําให้ EURUSD ขยับขึ้นไปที่ 1.0961 (61.8% Fibo Retracement ที่วัดอ้างอิงขาลงของ EUR ในช่วงครึ่งหลังของปี)

การย่อตัวลงเล็กน้อย (ถึงกลาง /บน 1.08s) มีแนวโน้มที่จะยังคงได้รับการสนับสนุนอย่างดีท่ามกลางโมเมนตัมแนวโน้มขาขึ้นที่มั่นคง

อ่านเพิ่มเติม – EURUSD: แนวต้านที่แข็งแกร่งในสัปดาห์นี้อยู่ที่ 1.0950/1.0960 – ING ข่าว forex


เฟดควรใช้แนวทางที่ช้าและมั่นคงในการปรับขึ้นดอกเบี้ยเพราะความเสี่ยงสูงและสภาวะศก.ไม่แน่นอน (17 พฤศจิกายน 2566)

นางแมรี ดาลี ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาซานฟรานซิสโกกล่าวเมื่อวันศุกร์ว่า “เฟดควรใช้แนวทางที่ช้าและมั่นคงในการปรับขึ้นดอกเบี้ยเพราะความเสี่ยงสูงและสภาวะเศรษฐกิจไม่แน่นอน”

ความเห็นเพิ่มเติมข่าว forex

ต้องการ ‘ความกล้าหาญที่จะรอ’ เพราะเวลาที่ไม่แน่นอน

เฟดต้องการความอดทนและดำเนินการเปลี่ยนแปลง ‘อย่างช้าๆ และระมัดระวัง’

เฟดไม่แน่ใจว่าพลวัตทางเศรษฐกิจในปัจจุบันเป็น ‘สิ่งที่เหลือ’ จากการฟื้นตัวจในยุคโรคระบาด หรือเป็นความความปกติใหม่หรือไม่

เฟดไม่แน่ใจว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับ 2% หรือไม่

เฟดไม่แน่ใจเกี่ยวกับระยะเวลาของความล่าช้าจากนโยบายการเงิน

การหารือเกี่ยวกับนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ตอนนี้มีประเด็นหลักอยู่ที่ ‘สิ่งที่เราทำมามีความเข้มงวดเพียงพอหรือไม่’ และ ระยะเวลาที่จะต้องคงดอกเบี้ยไว้ที่จุดนั้นนานเท่าใด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • “เราน่าจะอยู่ที่หรือใกล้จุดสูงสุดของอัตราดอกเบี้ยที่เราต้องอยู่แล้ว” – รองประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ
  • วิเคราะห์ราคาดัชนีดอลลาร์สหรัฐ: หากหลุด 104.00 ลงไปจะเห็นขาลงลึกขึ้น

คาดการณ์ XAUUSD: ทองคำปรับฐานหลังจากขาลงล่าสุดที่ราคาประมาณ $1,960 เมื่อบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ปรับตัวขึ้น (16 พฤศจิกายน 2566)

  • ราคาทองคํายังคงจํากัดการเคลื่อนไหวอยู่ที่ประมาณ 1,960 ดอลลาร์จากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และดอลลาร์สหรัฐสูงขึ้น
  • การคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ FOMC ในการประชุมเดือนธันวาคมและมกราคมอยู่ที่ระดับศูนย์
  • นักลงทุนทองคําจะให้ความสำคัญไปที่ดัชนีราคาบ้านของจีน และจํานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของสหรัฐฯ

ในช่วงเช้าของตลาดลงทุนเอเชียวันพฤหัสบดี ราคาทองคํา (XAUUSD) ปรับฐานหลังจากการปรับตัวลดลงมาครั้งล่าสุด ทองคำเผชิญกับการปฏิเสธจากแนวต้าน $1,975 และปัจจุบันซื้อขายที่ราคาประมาณ $1,960 การแข็งค่าขึ้นของดอลลาร์สหรัฐ (USD) และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่สูงขึ้นทําให้เกิดแรงกดดันต่อราคาทองคํา

ในขณะเดียวกัน ดัชนีดอลลาร์สหรัฐ (DXY) ซึ่งเป็นดัชนีวัดมูลค่าของ USD เทียบกับตะกร้าสกุลเงินโลก 6 สกุลขยับขึ้นมาที่ระดับ 104.40 หลังจากดีดตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดที่ 103.98 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีอยู่ที่ 4.53%

ในวันพุธ ดัชนีราคาผู้ผลิตสหรัฐฯ (PPI) ในเดือนตุลาคมลดลง 0.5% MoM จากการเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนกันยายน ตัวเลขดังกล่าวต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.1% ตัวเลข PPI ประจําปีอยู่ที่ 1.3% เทียบกับ 2.2% ก่อนหน้านี้ ยอดค้าปลีกลดลง 0.1% ในเดือน ต.ค. เทียบกับตัวเลขคาดการณ์ที่จะลดลง 0.3% ความคาดหวังสําหรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ FOMC ในการประชุมเดือนธันวาคมและมกราคมมีค่าเป็นศูนย์ และนักลงทุนในตลาดคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงกลางปี 2024

นอกจากนี้ ข้อมูลเศรษฐกิจจีนที่แข็งแกร่งขึ้นอาจจํากัดขาลงของทองคํา สาเหตุนั้นเป็นเพราะจีนเป็นผู้ผลิตและผู้บริโภคทองคํารายใหญ่ที่สุดของโลก ดัชนีราคาบ้านของจีนประจําเดือนตุลาคมในวันพฤหัสบดีจะอยู่ในความสนใจของนักลงทุน

เมื่อตลาดลงทุนสหรัฐอเมริกาเปิด จะมีการประกาศตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของสหรัฐฯ ในสัปดาห์ที่นับถึงวันที่ 10 พฤศจิกายน นอกจากนี้ เทรดเดอร์จะรับฟังความเห็นประธานเฟดหลายๆ คนเช่นจอห์น วิลเลียม (John Williams),คริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ (Christopher Waller),ลิซ่า คุก (Lisa Cook) และนางลอแรตตา เมสเตอร์ (Loretta J. Mester) เหตุการณ์ทางเศรษฐกิจเหล่านี้อาจให้ทิศทางการเคลื่อนไหวของราคาทองคำที่ชัดเจน


คาดว่าเงินเฟ้อสหรัฐฯ จะลดลงต่อในปี 2024 – UOB (15 พฤศจิกายน 2566)

Alvin Liew นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของ UOB Group ให้ความเห็นเกี่ยวกับตัวเลขเงินเฟ้อล่าสุดของสหรัฐอเมริกาเอาไว้ดังนี้

ประเด็นสําคัญ

อัตราเงินเฟ้อ CPI สําคัญของสหรัฐฯ ในเดือน ต.ค. ออกมาใชะลอตัวลงกว่าที่คาดไว้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 0.0% m/m, 3.2% y/y จาก 0.4% m/m, 3.7% y/y ในเดือน ก.ย. แม้ต้นทุนที่อยู่อาศัยและอาหารที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ถูกชดเชยด้วยราคาน้ํามันเบนซินที่ลดลง อัตราเงินเฟ้อ CPI พื้นฐานในเดือน ต.ค. เพิ่มขึ้น 0.2% จากเดือนก่อนหน้า, 4.0% จากปีก่อนจาก 0.3% m/m, 4.1% y/y ในเดือนก.ย.

ประเมินภาพรวมอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ: เรายังคงคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะชะลอตัวลงในช่วงปลายปี 2023 ไปจนถึงเข้าสู่ปี 2024 เรายังคงคาดว่าอัตราเงินเฟ้อ CPI ทั่วไปจะอยู่ที่ 3.2% ภายในเดือนธันวาคม 2023 หมายความว่าอัตราเงินเฟ้อ CPI ทั่วไปในปี 2023 จะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 4.1% และเราคาดว่าการผ่อนคลายด้านราคาจะดําเนินต่อไปในปีหน้า เฉลี่ย 2.0% ในปี 2024 เรายังคงคาดว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะลดลงต่อไป แต่อาจสูงถึง 3.9% จากช่วงเดียวกันปีก่อนภายในสิ้นปี 2023 (คาดการณ์ก่อนหน้านี้: 3.0%) ตัวเลขดังกล่าวยังคงสูงกว่าเป้าหมาย 2% ของเฟด สําหรับทั้งปี เราคาดว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะเฉลี่ยอยู่ที่ 4.8% ในปี 2023 (คาดการณ์ก่อนหน้านี้: 4.7%) และยังคงลดลงสู่ค่าเฉลี่ย 2.2% ในปี 2024 ข่าว forex


IEA ยกคาดการณ์การเติบโตของอุปสงค์น้ำมันทั่วโลกในปี 2023 และ 2024 ขึ้น (14 พฤศจิกายน 2566)

ในรายงานภาพรวมตลาดมันรายเดือนที่ประกาศเมื่อวันอังคารโดยสํานักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ระบุว่าพวกเขาได้เพิ่มคาดการณ์การเติบโตของอุปสงค์น้ำมันทั่วโลกสําหรับปี 2023 และ 2024 ขึ้น

ประเด็นสําคัญข่าว forex

IEA เพิ่มคาดการณ์การเติบโตของอุปสงค์น้ำมันทั่วโลกในปี 2024 เป็น 930,000 bpd (ครั้งก่อน 880,000 bpd)

IEA ปรับเพิ่มคาดการณ์การเติบโตของอุปสงค์น้ำมันทั่วโลกในปี 2023 เป็น 2.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน (ครั้งก่อน  2.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน)

ซาอุดิอาระเบีย-รัสเซียปรับลดราคาน้ำมันลงในช่วงท้ายปี

เพราะการเติบโตของอุปสงค์น้ำมันชะลอตัว ตลาดอาจมีน้ำมันส่วนเกินในช่วงต้นปี 2024

ความต้องการใช้น้ำมันของจีนในเดือนกันยายนเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 17.1 ล้านบาร์เรล

สงครามอิสราเอล-ฮามาสไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อระดับอุปทานน้ำมัน

การส่งออกน้ำมันของรัสเซียในเดือน ต.ค. ลดลง 70,000 บาร์เรลต่อวัน สู่ระดับ 7.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน

ปฏิกิริยาของตลาด

จากรายงานข้างต้น WTI ปรับตัวลดลงมาจากจุดสูงสุดของวัน แต่ยังคงวิ่งอยู่สูงกว่า $78 ต่อบาร์เรล ลดลงในวันนี้ 0.23% ข่าว forex


BMO คาดการณ์ “ดอลลาร์สหรัฐฯ จะสูญเสียโมเมนตัมขาขึ้นไปในปี 2024 (13 พฤศจิกายน 2566)

นักเศรษฐศาสตร์ที่ธนาคารแห่งมอนทรีออล (Bank of Montreal) วิเคราะห์แนวโน้มทิศทางสําหรับสกุลเงินกลุ่มอเมริกาเหนือ หรือ CAD และ USD

ไม่เป็นเป็นขาลงชัดเจนนักสำหรับ CAD ในปัจจุบัน

เมื่อพิจารณาจากสภาพเศรษฐกิจบนพื้นดินและแนวโน้มในระยะสั้น มีความเสี่ยงที่การกําหนดนโยบายทางการเงินระหว่างธนาคารกลางแคนาดาและเฟดที่จะแตกต่างกันออกไปอีก มื่อทางธนาคารกลางแคนนาดาจะหันไปใช้ท่าทีที่ค่อนข้างผ่อนคลาย ปัจจัยนี้ควรทําให้คู่สกุลเงิน USDCAD เคลื่อนไหวในระดับที่ต่ำ แต่จะต้องเห็นการอ่อนตัวทางเศรษฐกิจลงชัดเจนกว่านี้ในแคนาดา จึงจะเห็นแนวโน้มการปรับตัวขาลงที่มากขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ

ในมุมมองที่กว้างขึ้นของเราคือว่า ดอลลาร์สหรัฐจะสูญเสียระดับการแข็งค่าในช่วงปี 2024 เมื่อเทียบกับสกุลเงินส่วนใหญ่ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงจุดยืนทางนโยบายของเฟดที่จะชัดเจนมากขึ้น ข่าว forex


“เงินเฟ้ออาจมีการปรับตัวขึ้นอีกในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า” – ประธาน ECB (10 พฤศจิกายน 2566)

ตามรายงานของรอยเตอร์ นางคริสติน ลาการ์ด ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) กล่าวในงาน Financial Times เมื่อวันศุกร์ว่าหากระดับอัตราดอกเบี้ยคงอยู่นานพอ จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อกลับสู่เป้าหมาย

คริสตีน ลาการ์ดตั้งข้อสังเกตว่าอาจมีอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นบ้างในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า และเสริมว่าพวกเธอ (ECB) รู้สึกไม่สบายใจที่กรอบการคลังของประเทศในสหภาพยุโรปยังไม่ได้มีการตกลงกัน

ปฏิกิริยาของตลาด

ความเห็นเหล่านี้ล้มเหลวในการกระตุ้นปฏิกิริยากับเงินยูโร ในขณะที่กำลังเขียนข่าวนี้ EURUSD ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.15% เคลื่อนไหวในวันนี้ที่ 1.0682 ข่าว forex


ประธานเฟดสาขาชิคาโกกล่าวว่าเฟดต้องระวังความเสี่ยงจากการขึ้นดอกเบี้ยมากเกินไป (9 พฤศจิกายน 2566)

ตามรายงานของรอยเตอร์ นายออสตัน กูลส์บี ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาชิคาโกให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัลเมื่อวันพฤหัสบดีว่าพวกเขา (เฟด) จะต้องติดตามความเสี่ยงของการขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากเกินไป

ข้อความอ้างอิง

“การขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะยาวอย่างต่อเนื่องอาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจที่แท้จริง”

“มันเร็วเกินไปที่จะบอกว่าธนาคารกลางจะหันมาให้ความสําคัญกับการลดอัตราดอกเบี้ยหรือไม่”

“เศรษฐกิจสหรัฐฯ สามารถอยู่บนเส้นทางที่ทำได้ทั้งสองอย่างพร้อมกัน นั่นก็คือการทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลงมาใกล้เคียงกับเป้าหมาย 2% ของเฟดโดยไม่มีการว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ”

ปฏิกิริยาของตลาด

จากความเห็นเหล่านี้ ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้น 0.15% เคลื่อนไหวในวันนี้ที่ 105.67 ข่าว forex


สัญญาออปชั่นตลาดฟอเร็กซ์ที่ครบกำหนดตัดรอบหมดอายุในวันที่ 8 พฤจิกายน (8 พฤศจิกายน 2566)

สัญญาออปชั่นตลาดฟอเร็กซ์ที่ครบกำหนดตัดรอบหมดอายุในวันที่ 8 พฤจิกายน เวลา 21:00 ตามเวลาในประเทศไทย จากรายงานของ DTCC มีดังต่อไปนี้

– EUR/USD: จำนวนเงินในหน่วย EUR

1.0600 1.24 พันล้าน
1.0700 1.24 พันล้าน

– GBP/USD: จำนวนเงินในหน่วย GBP

1.1910 480 ล้าน
1.2400 472 ล้าน

– USD/JPY: จำนวนเงินในหน่วย USD

151.00 1.84 พันล้าน
150.00 1.28 พันล้าน
146.50 1.05 พันล้าน

– AUD/USD: จำนวนเงินในหน่วย AUD

0.6390 875 ล้าน
0.6525 866 ล้าน
0.6530 646 ล้าน

– USD/CAD: จำนวนเงินในหน่วย USD

1.3500 520 ล้าน
1.3475 451 ล้าน

– NZD/USD: จำนวนเงินในหน่วย NZD

0.6040 359 ล้าน

– EUR/GBP: จำนวนเงินในหน่วย EUR

0.8765 358 ล้าน
0.8660 324 ล้าน

– USD/CNY: จำนวนเงินในหน่วย USD

7.3000 2.51 พันล้าน
7.3140 1.29 พันล้าน
7.3160 1.07 พันล้าน


IMF ปรับการคาดการณ์เศรษฐกิจของประเทศจีนในปี 2023 และ 2024 ให้สูงขึ้น (7 พฤศจิกายน 2566)

ในรายงานล่าสุดที่เผยแพร่ในวันอังคาร กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้อัปเกรดตัวเลขการคาดการณ์การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) สำหรับประเทศจีนเป็น 5.4% ในปี 2566 และที่ 4.6% ในปี 2567

รายงานนี้ตรงกันข้ามกับรายงานแนวโน้มของเดือนตุลาคมเมื่อ IMF ปรับลดการคาดการณ์การเติบโตของจีนในปี 2023 และ 2024 ลงเหลือ 5.0% และ 4.2% ตามลำดับ

ปฏิกิริยาของตลาด

การแก้ไขตัวเลขการคาดการณ์การเติบโตของจีนที่สูงขึ้นไม่สามารถยกระดับความเชื่อมั่นต่อดอลลาร์ออสเตรเลียได้ เมื่อคู่ AUD/USD ยังคงถูกเทขายอย่างหนักหลังจากทางธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ส่งน้ำเสียงที่แสดงความผ่อนคลาย (dovish) อย่างน่าประหลาดใจในแถลงการณ์นโยบายล่าสุด คู่สกุลเงินดังกล่าวปรับตัวลดลง 1.02% ในวันนี้ โดยปัจจุบันซื้อขายที่ระดับ 0.6415


การอ่อนตัวลงต่อไปของ USDTHB มีความเป็นไปได้ในขณะนี้ (7 พฤศจิกายน 2566)

นักเศรษฐศาสตร์จาก Commerzbank วิเคราะห์ภาพรวมของโลหะมีค่าสีเหลืองหรือทองคําที่เริ่มปรับลงมาตั้งแต่วันศุกร์ที่แล้ว และการปรับตัวลดลงยังคงดําเนินต่อไปเมื่อสัปดาห์ใหม่ของการลงทุนเริ่มขึ้น

ทองคําปรับตัวลดลงบ้างจากความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์อีกครั้ง

ดอลลาร์สหรัฐและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรไม่ได้เป็นตัวขับเคลื่อนหลักของราคาทองคํา

ความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่เพิ่มขึ้น และความต้องการทองคําในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยมีบทบาทสําคัญในการปรับตัวขึ้นของทองคำมาตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม

เนื่องจากจนถึงตอนนี้ความขัดแย้งในตะวันออกกลางยังไม่บานปลาย แม้ว่ากองทัพอิสราเอลจะรุกคืบในฉนวนกาซา แต่ราคาทองคําดูเหมือนจะลดลงจากความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ปรับตัวลงอีกครั้ง

ดูเหมือนว่าระดับราคา $2,000 จะเป็นจุดสูงสุดที่ราคาทองคําจะไปถึงได้ในขณะนี้


การอ่อนตัวลงต่อไปของ USDTHB มีความเป็นไปได้ในขณะนี้ (6 พฤศจิกายน 2566)

นักกลยุทธ์ตลาด Quek Ser Leang จาก UOB Group คาดการณ์ว่า USD/THB อาจมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวขาลงลึกขึ้นในระยะสั้นนี้

ข้อความอ้างอิงสําคัญ

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (30 ต.ค.) เมื่อ USD/THB ซื้อขายที่ระดับ 36.03 เรามีมุมมองว่า “การย่อตัวลงอย่างต่อเนื่องของ USD/THB มีความเป็นไปได้ที่จะขยายไปถึงระดับ 35.65 ก่อนที่จะคาดว่าจะกลับสู่ภาวะสมดุลได้” โดย USD/THB ไม่ได้ทะลุระดับ 35.65 จนกระทั่งเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เมื่อกราฟดิ่งลงสู่ระดับต่ำสุดที่ 35.40 การเพิ่มขึ้นฉับพลันของโมเมนตัมขาลงมีแนวโน้มที่จะนําไปสู่การอ่อนตัวลงต่อไป

ในมุมมองของเงื่อนไขระยะสั้นที่มีการขายมากเกินไป (oversold) ทำให้ยังคงต้องดูว่าแนวรับหลักถัดไปที่ 35.05 จะไปถึงได้ในสัปดาห์นี้หรือไม่ (มีอีกแนวรับหนึ่งที่ 35.25) ด้านแนวต้านอยู่ที่ 35.75 แต่การทะลุเพดาน 36.01 จะบ่งบอกว่า USD/THB จะไม่อ่อนค่าลงอีก


ภาพรวมในอนาคตอันใกล้ของราคาก๊าซธรรมชาติล่วงหน้ายังไม่ชัดเจน (6 พฤศจิกายน 2566)

อ้างอิงรายงานเบื้องต้นของตลาดก๊าซธรรมชาติฟิวเจอร์สจาก CME Group ระบุว่าสัญญาคงค้างในวันศุกร์ปรับตัวขึ้นเป็นวันที่สามติดต่อกัน ซึ่งตอนนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบ 8,000 สัญญา ในทางตรงกันข้าม ปริมาณการซื้อขายลดลงเป็นวันที่สามติดต่อกัน คราวนี้ลดลงประมาณ 67,900  สัญญา

ก๊าซธรรมชาติ: ขาขึ้นดูเหมือนจะไปได้ไม่เกิน $3.60

การเคลื่อนไหวของราคาก๊าซธรรมชาติในวันศุกร์ยังคงขึ้นลงไปมาอันเป็นผลมาจากจำนวนสัญญาคงค้างเพิ่มขึ้นและปริมาณการซื้อขายลดลง แสดงให้เห็นว่าในอนาคตอันใกล้ ราคาก๊าซธรรมชาติมีโอกาสที่จะปรับฐานท่ามกลางทิศทางการเคลื่อนไหวที่ไม่แน่นอน ในระหว่างนี้ จุดสูงสุดในเดือนตุลาคมที่อยู่เหนือ $3.60 ต่อ MMBtu ดูเหมือนจะเป็นโซนแนวต้านที่ดี

ข่าว forex


คาดการณ์ XAUUSD: การยืนเหนือ $2,000 เป็นระยะเวลานานของทองคำไม่ใช่เรื่องง่าย (5 พฤศจิกายน 2566)

นักเศรษฐศาสตร์จาก Commerzbank วิเคราะห์ภาพรวมของโลหะสีเหลืองมีค่าหรือราคาทองคําที่สามารถฟื้นตัวได้ท่ามกลางช่วงเวลาที่มีการประชุมอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ เอาไว้ดังนี้

หากตัวเลข NFP เพิ่มขึ้นจะสร้างแรงกดดันต่อราคาทองคํา

สมมติว่าความรุนแรงในตะวันออกกลางไม่เพิ่มขึ้น ยังคงพบว่าเป็นการยากที่จทองคําอาจะไต่ขึ้นเหนือระดับ $2,000 ได้  เพราะการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดเพิ่มเมีโอกาสน้อยลงเล็กน้อย แต่ยังไม่ถึงกับเป็นไปไม่ได้เลย

การคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยอาจเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอีกครั้ง ซึ่งจะส่งผลต่อราคาทองคําโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ ในวันนี้อาจกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาของนักลงทุนในตลาดหากผลที่ออกมากลายเป็นว่าการจ้างงานมากกว่าที่คาดการณ์ไว้


น้ำมันดิบ WTI หยุดการปรับตัวลดลงสามวันติดต่อกัน วิ่งอยู่เหนือ $81.00 ต่อบาร์เรลหลังเฟดประกาศหยุดขึ้นดอกเบี้ย (2 พฤศจิกายน 2566)

  • ราคาน้ำมันดิบ WTI ยืนเหนือระดับ $81.00 หลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC)
  • FOMC คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 5.25–5.50% ในวันพุธที่ผ่านมา
  • ความตึงเครียดในตะวันออกกลางที่เพิ่มขึ้นอาจนําไปสู่การหยุดชะงักของอุปทานน้ำมัน

ในวันพฤหัสบดี ราคาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัสอินเตอร์มีเดียต (WTI) เกณฑ์มาตรฐานน้ํามันดิบของสหรัฐฯ ซื้อขายอยู่ที่ประมาณ 81.00 ดอลลาร์ ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวลงติดต่อกันสามวันหลังจากการประชุมคณะกรรมการกําหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) ตัดสินใจหยุดขึ้นอัตราดอกเบี้ยชั่วคราวในวันพุธที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเศรษฐกิจจีนที่อ่อนแอลงอาจทําให้แนวโน้มความต้องการใช้น้ำมันลดลง

ตามที่นักลงทุนในตลาดส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ FOMC ยังคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันพุธไว้ดังเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ในระหว่างการแถลงข่าว นายเจอโรม พาวเวลล์ (Jerome Powell) ประธานเฟดเน้นย้ำถึงการตัดสินใจโดยอ้างอิงข้อมูลเศรษฐกิจของคณะกรรมการ และให้คํามั่นว่าจะเคลื่อนไหวนโยบายการเงินอย่างระมัดระวัง FOMC ยังเปิดประตูสําหรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง แต่นักลงทุนในตลาดเชื่อว่าวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นได้สิ้นสุดลงแล้ว ซึ่งลากดอลลาร์สหรัฐ (USD) ให้อ่อนค่าลงทั่วทั้งกระดาน

นอกจากนี้ ความตึงเครียดในตะวันออกกลางที่เพิ่มขึ้นอาจทําให้การหยุดชะงักของตลาดพลังงานที่มีอยู่แล้ว (จากสงครามของรัสเซีย-ยูเครน) รุนแรงขึ้น

ในขณะเดียวกัน ดัชนี PMI ภาคการผลิตของจีนในเดือน ต.ค.ลดลงต่ำกว่า 50 เพราะการผลิตที่ชะลอตัวลงและอุปสงค์ที่อ่อนแอลง ดังนั้น ข้อมูลเศรษฐกิจจีนที่ตกต่ำเพิ่มความสงสัยให้กับความเชื่อมั่นที่นักลงทุนในตลาดมีเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกอย่างประเทศจีนเมื่อเร็วๆ นี้ อนึ่ง จีนเป็นผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่ของโลก และแนวโน้มเศรษฐกิจขาลงอาจสร้างแรงกดดันต่อราคาน้ำมัน

ในอนาคตอันใกล้ นักลงทุนน้ำมันจะติดตามการประกาศข้อมูลจํานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ ในวันพฤหัสบดี ในวันศุกร์ความสนใจของตลาดจะเปลี่ยนไปที่ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ซึ่งคาดว่าจะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นในเดือนตุลาคม 180,000 ตําแหน่งจาก 336,000 ตําแหน่งในเดือนกันยายน เหตุการณ์เหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อราคา WTI ที่ซื้อขายด้วยสกุลเงิน USD อย่างมีนัยสําคัญ นักลงทุนน้ำมันจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เป็นตัวชี้นำและหาโอกาสในการลงทุนกับน้ำมันดิบ WTI


การจ้างงานในภาคเอกชนของสหรัฐฯ ดีขึ้นมาที่ 113,000 ในเดือนตุลาคม เทียบกับที่คาดที่ 150,000 (1 พฤศจิกายน 2566)

  • ในเดือนตุลาคม การจ้างงานภาคเอกชนขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงกว่าที่คาดการณ์
  • ดัชนีดอลลาร์สหรัฐยังคงอยู่ในแดนบวกเหนือ 106.50

ข้อมูลที่เผยแพร่โดยการประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติ (ADP) เปิดเผยเมื่อวันพุธที่ผ่านมารายงานว่า การจ้างงานภาคเอกชนในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 113,000 ตำแหน่งในเดือนตุลาคม ตัวเลขนี้เกิดขึ้นหลังจากการเพิ่มขึ้น 89,000 ตำแหน่งในเดือนกันยายน และต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่ 150,000

จากการประเมินผลการสำรวจ “ไม่มีอุตสาหกรรมใดมีปริมาณการจ้างงานมากกว่าภาคอื่น ๆ ในเดือนนี้และการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างหลังการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ดูเหมือนจะไล่ตามไม่ทันเรา” นีลา ริชาร์ดสัน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ ADP กล่าว และเสริมอีกว่า “โดยรวมแล้ว ตัวเลขของเดือนตุลาคมเป็นไปด้วยดี ภาพงานโค้งมนและแม้ว่าตลาดแรงงานจะชะลอตัว แต่ก็ยังเพียงพอที่จะรองรับการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่แข็งแกร่ง”

รายละเอียดของรายงานเปิดเผยว่าการจ่ายเงินรายปีเพิ่มขึ้น 5.7% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนตุลาคม

ปฏิกิริยาของตลาด

เงินดอลลาร์สหรัฐไม่มีการตอบสนองต่อตัวเลขเหล่านี้ในทันที และดัชนีดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้น 0.15% ในวันนี้ ที่ระดับ 106.86


การเลือกตั้งปธน. สหรัฐฯ ในเดือน พ.ย. ปี 2024 มีโอกาสสูงมากที่จะเป็นการดวลกันอีกครั้งระหว่างทรัมป์-ไบเดน – SCB (31 ตุลาคม 2566)

นักยุทธศาสตร์การลงทุนของสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดรายงานว่าการเลือกตั้งประธานาธิบดี (พร้อมกับการเลือกตั้งรัฐสภา) ที่จะมีขึ้นในวันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 2024 นั่นอาจจะเป็นการดวลกันอีกครั้งระหว่างทรัมป์กับไบเดน ที่เหมือนย้อนกลับไปในปี 2020

การคำนวณคะแนนจากคณะผู้เลือกตั้งจะมีบทบาทสําคัญอีกครั้ง

การเลือกตั้งประธานาธิบดีในปีหน้ามีแนวโน้มสูงที่จะเป็นการแข่งขันกันอีกครั้งระหว่างโจ ไบเดนกับโดนัลด์ ทรัมป์ (BidenTrump) เหมือนอย่างในปี 2020 โพลชี้ว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นการแข่งขันที่สูสีมาก และจนถึงตอนนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าใครได้เปรียบ

การคำนวณคะแนนจากคณะผู้เลือกตั้ง (ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่รัฐสวิงสเตทเพียงไม่กี่รัฐ) จะมีบทบาทสําคัญในการกําหนดประธานาธิบดีคนต่อไปอีกครั้ง หากจะให้ไบเดนได้เปรียบ ไบเดนอาจจะต้องได้คะแนนเสียงจากประชาชนมากพอที่จะทำให้คณะผู้เลือกตั้งเลือกเขา

โพลระดับรัฐน่าจะเริ่มให้ภาพที่ชัดเจนขึ้นหลังการเลือกตั้งขั้นต้นหรือ ‘ซุปเปอร์ ทิวส์เดย์’ ในวันที่ 5 มีนาคม


คาดการณ์ XAUUSD: ทองคำจะปรับตัวขึ้นหากความขัดแย้งในตะวันออกกลางทวีความรุนแรงขึ้น (30 ตุลาคม 2566)

นักเศรษฐศาสตร์จาก UBS รายงานว่าทองคําควรยังคงเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่ดี แม้จะมีความกังวลว่าอัตราดอกเบี้ยจะยังคงสูงขึ้นไปอีกนาน

ทองคําได้พิสูจน์ให้เห็นถึงคุณค่าในฐานะสินทรัพย์กระจายความเสี่ยงอีกครั้ง

นับตั้งแต่กลุ่มฮามาสโจมตีอิสราเอล ราคาของทองคำได้เพิ่มขึ้นประมาณ 9% และความขัดแย้งในระดับภูมิภาคที่เพิ่มขึ้นมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมูลค่าให้กับทองคําต่อไป

แม้เราเชื่อว่ากระแสการลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยจะกลับทิศในท้ายที่สุด แต่ทองคำก็ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงคุณค่าในฐานะสินทรัพย์กระจายความเสี่ยงอีกครั้ง นอกจากนี้  เราจะได้เห็นการสนับสนุนทองคําเพราะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในท้ายที่สุดจะชะลอตัว จนทําให้เจ้าหน้าที่เฟดสามารถต้องเปลี่ยนไปสู่การผ่อนคลายทางการเงิน ซึ่งอาจนําทำให้อัตราผลตอบแทนที่ลดลง และลดต้นทุนค่าเสียโอกาสในการถือครองโลหะที่ไม่มีดอกเบี้ยลง


ดอลลาร์อาจจะยังคงแข็งค่าไปจนถึงช่วงจบสัปดาห์ – ING (27 ตุลาคม 2566)

นักเศรษฐศาสตร์จาก ING วิเคราะห์แนวโน้มค่าเงิน USD ว่าหลังจากตัวเลข GDP ของสหรัฐฯ ออกมาสูงกว่าประมาณการ นั่นเป็นการยืนยันว่าระหว่างเศรษฐกิจสหรัฐฯ และประเทศที่พัฒนาแล้วอื่นๆ มีความแตกต่างในการเติบโตที่กว้างอย่างมีนัยสำคัญ และกว้างขึ้นอย่างมาก

ช่องว่างการเติบโตอย่างรวดเร็วทําให้การเทขายดอลลาร์เกิดได้ยากขึ้น

เมื่อ GDP ของสหรัฐฯ แข็งแกร่ง ความแตกต่างของการเติบโตยังคงเพิ่มขึ้น ทําให้ดอลลาร์ถูกเทขายได้ยากขึ้นในสภาพแวดล้อมปัจจุบัน

เมื่อเราตัดผลกระทบที่ตลาดมีต่อการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจทันทีออกไป เหตุผลที่มาหนุนการแข็งค่าของดอลลาร์จะยิ่งทำให้ค่าเงินแข็งแกร่งขึ้น

หากตัวเลขรายได้ส่วนบุคคลและ PCE ของเดือนกันยายนไม่ได้สร้างผลกระทบต่อตลาดในวันนี้มากนัก เรายังคงคิดว่า USD อาจได้รับการสนับสนุนจากตลาดในภาพรวมไปจนสุดสัปดาห์ หากมีสถานการณ์ที่คู่สกุลเงินปรับตัวสูงขึ้นเพราะการเปลี่ยนแปลงออเดอร์การลงทุน และการปรับฐานนี้ทำให้ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง เราจะเลือกเทรดในด้านที่ได้รับประโยชน์จากความแข็งแกร่งของดอลลาร์สหรัฐหรือทำสิ่งที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่ผู้อื่นกำลังทำในตลาด


ดูเหมือนว่าเงินเฟ้อจะปรับตัวลดลงต่อในอนาคตอันใกล้ – ประธานธนาคารกลางยุโรป (26 ตุลาคม 2566)

ในการประชุมดอกเบี้ยเดือนตุลาคม คริสตีน ลาการ์ด (Christine Lagarde) ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) อธิบายถึงการตัดสินใจของ ECB ที่คงอัตราดอกเบี้ยสำคัญเอาไว้ดังเดิมไม่เปลี่ยนแปลงและตอบคําถามจากสื่อมวลชนดังนี้

คําพูดที่สําคัญ

“เศรษฐกิจยูโรโซนยังคงอ่อนแอ”

“ภาคบริการกําลังอ่อนแอลงอีก”

“เศรษฐกิจยูโรโซนมีแนวโน้มอ่อนแอในช่วงที่เหลือของปี”

“เศรษฐกิจยูโรโซนน่าจะแข็งแกร่งขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าเมื่อรายได้ที่แท้จริงเพิ่มขึ้น”

“มีสัญญาณว่าตลาดแรงงานกําลังอ่อนแอลง”

“อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะลดลงอีกในอนาคตอันใกล้นี้”

ข้อมูลเกี่ยวกับการแถลงจาก ECB

หลังจากการประชุมเพื่อตัดสินใจด้านนโยบายการเงินของ ECB ประธาน ECB ได้ออกแถลงการณ์ที่เตรียมไว้ และตอบคําถามจากสื่อมวลชนเกี่ยวกับแนวโน้มนโยบายการเงิน ความคิดเห็นของเธอ (คริสตีน ลาการ์ด) อาจส่งผลต่อความผันผวนของ EUR และเป็นตัวกําหนดแนวโน้มเชิงบวกหรือเชิงลบในระยะสั้น มุมมองแบบ Hawkish หรือสนับสนุนนโยบายการเงินแบบเข้มงวดของคริสตีนจะถือเป็นบวก (หรือเป็นขาขึ้น) ต่อสกุลเงิน EUR ในทางกลับกัน มุมมองแบบ dovish หรือสนับสนุนนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของเธอถือเป็นลบ (หรือขาลง)


ประเทศจีนจะออกพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มอีก 1 ล้านล้านหยวนในไตรมาสที่ 4 (25 ตุลาคม 2566)

รัฐบาลจีนตั้งใจที่จะออกพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มเติมอีก 1 ล้านล้านหยวน (137,000 ล้านดอลลาร์) ในช่วงไตรมาสที่สี่ (Q4) ความพยายามนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมความแข็งแกร่งโดยรวมของประเทศต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติและสนับสนุนการฟื้นตัวหลังเกิดภัยพิบัติ การตัดสินใจดังกล่าวได้รับการอนุมัติจากการประชุมครั้งที่หกของคณะกรรมการยืนของสภาประชาชนแห่งชาติ (NPC) ครั้งที่ 14

จีนได้ออกพันธบัตรมูลค่ากว่า 7.5 ล้านล้านหยวนในช่วงสามไตรมาสแรก โดยจะเพิ่มอีก 1 ล้านล้านดอลลาร์ในครั้งนี้ ผลรวมถือว่ามีนัยสําคัญเมื่อเปรียบเทียบกับตัวเลขอื่น ๆ

สํานักข่าวซินหัวรายงานว่าการออกหุ้นกู้ฉบับใหม่นี้คาดว่าจะผลักดันสัดส่วนการขาดดุลทางการคลังของประเทศให้อยู่ที่ประมาณร้อยละ 3.8 ในปี 2566 ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์จากเป้าหมายที่ 3% ที่กําหนดไว้เมื่อต้นปี


วิเคราะห์ราคา EURUSD: การปรับฐานลงลึกอาจลงไปถึงระดับราคาที่ต่ำกว่า 1.0495 (25 ตุลาคม 2566)

  • EURUSD ปรับตัวลดลงต่อจากวันอังคารและมุ่งหน้าไปยัง 1.0570
  • แนวรับแรกนอนรอราคาอยู่ที่โซนราคาประมาณ 1.0500

EURUSD ในวันพุธยังคงอยู่ภายใต้แรงกดดันและปรับตัวลงสู่จุดต่ำสุดในรอบสัปดาห์ ณ โซนราคา 1.0570/65

หากการขาลงเร่งความเร็วมากขึ้น EURUSD อาจตกลงสู่จุดต่ำสุดประจําสัปดาห์ที่ 1.0495 (13 ตุลาคม) ก่อนรถึงจุดต่ำสุดของปี 2023 ที่ 1.0448 (3 ตุลาคม) การปรับตัวลดลงต่อจากนี้อาจทําให้ EURUSD ลงไปทดสอบที่ระดับราคา 1.0400 โดยประมาณในอนาคตอันใกล้

ในระหว่างนี้ ตราบใดที่ EURUSD ยังวิ่งอยู่ต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย SMA 200 วัน ซึ่งวันนี้อยู่ที่ 1.0815 ภาพรวมของกราฟคู่นี้จะยังคงเป็นขาลง

กราฟ EURUSD รายวัน

ข่าว forex


ตลาดโกลด์ฟิวเจอร์ส การปรับฐานต่อไปเป็นไปได้ในระยะสั้น (24 ตุลาคม 2566)

ข้อมูลแฟลชของ CME Group สําหรับตลาดทองคําฟิวเจอร์สระบุว่า นักลงทุนในตลาดเพิ่มจำนวนสัญญาคงค้างเป็นวันซื้อขายที่ห้าติดต่อกันในวันจันทร์ คราวนี้เพิ่มขึ้นประมาณ 3,700 สัญญา ในทางกลับกัน ปริมาณการซื้อขายยังคงผันผวนไปมาและลดลงประมาณ 87,200 สัญญา

ราคาทองคํายังคงถูกจํากัดอยู่ใต้ระดับ $2000 จนถึงตอนนี้

ราคาทองคําเริ่มต้นสัปดาห์นี้ในขาลงท่ามกลางจำนวนสัญญาคงค้างที่เพิ่มขึ้น ซึ่งมีส่วนบ่งชี้ว่าการปรับฐานขาลงเพิ่มเติมอาจกำลังจะเกิดขึ้นสําหรับสินค้าโภคภัณฑ์ดังกล่าวในระยะเวลาอันใกล้นี้ ในขณะเดียวกันความพยายามในการวิ่งขาขึ้นเป็นครั้งคราวในตลาดทองคำดูเหมือนจะถูกจํากัดด้วยแนวระดับ $2000 ต่อทรอยออนซ์ในขณะนี้

ข่าว forex


จีนแสดงความกังวลอย่างจริงใจเกี่ยวกับความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงขึ้นในตะวันออกกลาง (23 ตุลาคม 2566)

ตามรายงานของสื่อของรัฐจีน สถานการณ์ในฉนวนกาซานั้นถือว่า “ร้ายแรงมาก” โดยมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดความขัดแย้งขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นและแนวโน้มสถานการณ์นั้น “น่าเป็นห่วง” ในขณะที่สถานการณ์ความขัดแย้งและการใช้อาวุธตามแนวชายแดนใกล้เคียงเริ่มแพร่กระจาย โดยอ้างจากทูตพิเศษของตะวันออกกลางในประเทศจีน

ทูตไจ่ จุน กล่าวว่าจีนได้จัดหาและจะให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมฉุกเฉินแก่ชาวปาเลสไตน์ต่อไปผ่านทางสหประชาชาติและช่องทางทวิภาคี เพื่อช่วยเหลือบรรเทาวิกฤติด้านมนุษยธรรม

ปฏิกิริยาของตลาด

หลังจากพาดหัวข้อข่าวข้างต้น ดัชนีดอลลาร์สหรัฐ (DXY) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.06% ในวันนี้ อยู่ที่ 106.22


Commerzbank คาด “ECB จำเป็นจะตอบสนองในท่าทีเข้มงวดเพื่อสร้างความมั่นใจในตลาดฟอเร็กซ์” (23 ตุลาคม 2566)

สถานการณ์ว่านโยบายทางการคลังของธนาคารกลางจะจํากัดในระดับใด และนั่นมีความหมายอย่างไรสําหรับตลาดฟอเร็กซ์? ด้านนักเศรษฐศาสตร์ที่ Commerzbank วิเคราะห์สถานการณ์ทางการคลังในสหรัฐอเมริกาและเปรียบเทียบกับในยุโรป

ปรับที่ 25 หรือ 50 bps เป็นความแตกต่างที่น้อยมาก

เฟดจะรวบรวมปัจจัยจากอัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้นในสหรัฐฯ ซึ่งสร้างผลกระทบที่เข้มงวดอย่างเพียงพอแล้วหรือไม่? เพื่อให้เส้นทางอัตราดอกเบี้ยไม่จําเป็นต้องเพิ่มขึ้นแม้ว่าสถานการณ์ด้านอัตราเงินเฟ้อจะน่าผิดหวัง? ซึ่งจะนําไปสู่การเสื่อมถอยของความสัมพันธ์ของอัตราดอกเบี้ยและระดับเงินเฟ้อ และทําให้ USD อ่อนค่าลง

ธนาคารกลางยุโรปจะพิจารณาการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนที่ไม่สมส่วนในประเทศยูโรโซนที่มีระดับหนี้สูงเพื่อเป็นข้อโต้แย้งกับอัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้นหรือไม่?

เพื่อสร้างความเชื่อมั่นของตลาดฟอเร็กซ์ใน ECB ซึ่งอ่อนแอลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมาธนาคารกลางจะต้องดําเนินการในลักษณะที่เข้มงวดเป็นพิเศษภายใต้การนําของ Lagarde มันไม่เต็มใจที่จะทําอย่างนั้นล่าสุด

แน่นอนจากมุมมองที่เป็นสาระสําคัญ 25 หรือ 50 bps สร้างความแตกต่างน้อยมาก แต่ในกรณีนี้พวกเขาแสดงให้เห็นว่า ECB ไม่ต้องการเชื่อว่าได้รับผลกระทบจากการขาดดุลความน่าเชื่อถือซึ่งกําลังมีความเกี่ยวข้องมากขึ้นอีกครั้งในช่วงเวลาที่มีข้อสงสัยเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการคลัง


คาดการณ์ XAUUSD: ราคาทองคำอาจปรับตัวขึ้นหากความขัดแย้งในตะวันออกกลางทวีความรุนแรงขึ้น (20 ตุลาคม 2566)

นักเศรษฐศาสตร์จาก Commerzbank วิเคราะห์แนวโน้มของโลหะสีเหลืองอย่างทองคำว่าแม้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะสูงขึ้น แต่ราคาทองคําในสัปดาห์นี้ก็เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 1,980 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบสามเดือน

ศักยภาพขาขึ้นของทองคำ (XAUUSD) มีแนวโน้มที่จะหมดลง

ราคาทองคําอาจปรับตัวขึ้นบ้างหากความขัดแย้งในตะวันออกกลางทวีความรุนแรงขึ้นหรือขยายวงกว้างขึ้น หากไม่แล้ว ศักยภาพขาขึ้นของขาขึ้นน่าจะหมดลง

เราเห็นโอกาสที่ราคาทองคำจะปรับตัวขึ้นเพิ่มเติมอย่างยั่งยืนเพราะมีสัญญาณความเป็นไปได้ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจปรับทิศนโยบายอัตราดอกเบี้ย เพื่อตอบสนองต่อความอ่อนแอของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ตามเราคาดการณ์ไว้


วิเคราะห์ราคาดัชนีดอลลาร์สหรัฐ: แนวรับที่เชื่อถือได้ปรากฎขึ้นที่ราคาประมาณ 106.00 (18 ตุลาคม 2566)

  • DXY ปรับตัวขึ้นสวนขาลงสองวันติดต่อกันก่อนหน้านั้น
  • ความต่อเนื่องขาขึ้นของการรีบาวด์มีเป้าหมายอยู่ที่ราคาบริเวณ 106.80

ดัชนีดอลลาร์สหรัฐ (DXY) ในวันพุธทิ้งขาลงที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์และกลับมาที่บริเวณจุดต่ำสุด 106.00 โดยประมาณ

ในกรณีที่ขาขึ้นเร่งกำลัง การปรับตัวขึ้นเหนือจุดสูงสุดประจําสัปดาห์ที่ 106.78 (12 ตุลาคม) อาจกระตุ้นให้ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเริ่มเล็งที่จะไปทดสอบความแข็งแกร่งของจุดสูงสุดในปี 2023 ที่ 107.34 (3 ตุลาคม) ได้ในระยะสั้น

ในระหว่างนี้ ตราบใดที่ราคาดัชนียังคงวิ่งอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ยสำคัญ SMA 200 วัน ซึ่งวันนี้อยู่ที่ 103.25 แนวโน้มของดัชนีดอลลาร์สหรัฐคาดว่าจะยังคงเป็นขาขึ้น

กราฟดัชนีดอลลาร์สหรัฐ (DXY) รายวัน

ข่าว forex


วิเคราะห์ราคาน้ำมันดิบ WTI: ราคาเคลื่อนไหวไซด์เวย์อยู่ที่ประมาณ $85.00 ต่อบาร์เรล (17 ตุลาคม 2566)

  • WTI เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบราคาแคบๆ ประมาณ 86.00 ดอลลาร์ก่อนการเยือนอิสราเอลของโจ ไบเดน ประธานธิบดีสหรัฐฯ
  • ภาพรวมที่กว้างขึ้นของราคาน้ำมันยังคงเป็นขาขึ้นเพราะความเสี่ยงที่ประเทศอื่นๆ ในตะวันออกกลางจะเข้าแทรกแซงยังคงมีอยู่
  • WTI ตั้งเป้าที่จะปรับตัวขึ้นไปยืนเหนือระดับ 50% ของ Fibo retracement ที่ 85.77 ดอลลาร์

ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสฟิวเจอร์ส (WTI) ของ NYMEX เคลื่อนไหวไซด์เวย์อยู่ในกรอบราคาแคบๆ ระหว่าง 85-86 ดอลลาร์ นักลงทุนกำลังจับตาดูการไปเยือนอิสราเอลของประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ เพื่อหารือเกี่ยวกับความจําเป็นในการกําจัดกลุ่มฮามาสของกองทัพปาเลสไตน์โดยไม่ทําให้พลเรือนเสียชีวิตมากไปกว่านี้

ภาพรวมราคาน้ำมันดิบที่กว้างขึ้นยังคงเป็นขาขึ้น สาเหตุนั้นเป็นเพราะยังมีความเสี่ยงที่ประเทศอื่นๆ ในตะวันออกกลางอาจเข้าแทรกแซงสงครามระหว่างสองดินแดนนี้เช่นอิหร่านและเยเมนยังคง ความเสี่ยงนี้จะทําลายห่วงโซ่อุปทานน้ํามันทั่วโลกอย่างมีนัยสําคัญ

ในขณะเดียวกัน ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นราว 106.60 ก่อนการที่นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะแสดงความคิดเห็นหรือให้สัญญาณบ่งชี้เกี่ยวกับแนวโน้มการดําเนินนโยบายการเงินในเดือนพฤศจิกายน ก่อนหน้านั้น ข้อมูลยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ ในเดือนกันยายนจะถูกจับตามองอย่างมาก ซึ่งจะประกาศณ เวลา 19:30 นาฬิกาตามเวลาประเทศไทย

ในกราฟสี่ชั่วโมง WTI ตั้งเป้าที่จะขยับขึ้นยืนเหนือระดับ 50% ของ Fibonacci retracement ที่ 85.77 ดอลลาร์ (ลากจากจุดต่ำสุดเมื่อวันที่ 24 สิงหาคมที่ 77.53 ดอลลาร์ถึงระดับ 28 กันยายนหรือจุดสูงสุดประมาณ 94 ดอลลาร์) เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเอ็กซ์โพเนนเชียล (EMA) 20 วันอยู่ที่ 85.10 ดอลลาร์ สนับสนุนภาวะขาขึ้นของราคาน้ํามัน

อินดิเคเตอร์ Relative Strength Index (RSI) (14) ได้เปลี่ยนจากกรอบขาลงเป็นวิถีขาขึ้น กรอบการเคลื่อนไหวของ RSI ที่กว้างขึ้นคาดว่าจะขยายตัวมากขึ้นเป็น 40.00-80.00 ในอนาคต

ขาขึ้นระลอกใหม่จะปรากฏหากราคาน้ำมันทะลุเหนือจุดสูงสุดในวันที่ 16 ตุลาคมที่ 87.00 ดอลลาร์ ซึ่งจะผลักดัน WTI ขึ้นไปสู่จุดต่ำสุดในวันที่ 26 กันยายนที่ 87.74 ดอลลาร์ ตามด้วยระดับแนวต้านทางจิตวิทยาที่ 90.00 ดอลลาร์

สำหรับขาลง การปรับตัวลดลงต่ำกว่าจุดต่ำสุดของวันที่ 6 ตุลาคมที่ $80.63 จะทําให้ WTI ลงแตะจุดต่ำสุดในวันที่ 29 สิงหาคมที่ $79.21 และจุดต่ำสุดในวันที่ 24 สิงหาคมที่ $77.53

กราฟน้ำมันดิบ WTI สี่ชั่วโมง

ข่าว forex


“อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่ลดลงไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว” – ประธานเฟดสาขาชิคาโก (16 ตุลาคม 2566)

ตามรายงานของรอยเตอร์ นายออสตัน กูลส์บี ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาชิคาโกกล่าวกับไฟแนนเชียล ไทมส์ เมื่อวันจันทร์ว่า อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่ลดลงไม่ใช่ “เพียงสิ่งที่เกิดขึ้นชั่วคราว”

ออสตันยอมรับว่าต้นทุนที่อยู่อาศัยปัจจัยกดดันที่สร้างความประหลาดใจให้ แต่เสริมว่าแนวโน้มราคายังคงลดลง เขายังปฏิเสธว่าความคืบหน้าการทำให้เงินเฟ้อลดลงกลับสู่เป้าหมาย 2% ของเฟดไม่ได้กําลังหยุดชะงัก

ปฏิกิริยาของตลาด

ตามความคิดเห็นเหล่านี้ ดัชนีดอลลาร์สหรัฐยังคงอยู่ภายใต้แรงกดดันขาลงเล็กน้อย ล่าสุด DXY ปรับตัวลดลง 0.15% เคลื่อนไหวในวันนี้อยู่ที่ 106. ข่าว forex


ตลาดโกลด์ฟิวเจอร์ส เห็นโอกาสในการปรับตัวขาขึ้นต่อ (15 ตุลาคม 2566)

จำนวนสัญญาคงค้างในตลาดทองคําฟิวเจอร์สกลับมาอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นและเพิ่มขึ้นมากกว่า 6,000 สัญญาในวันศุกร์ ตามรายงานตัวเลขเบื้องต้นจาก CME Group ด้านปริมาณการซื้อขายเป็นไปในทางเดียวกันและเพิ่มขึ้นเกือบ 170,000 สัญญา ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นรายวันที่มากที่สุดนับตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม

กราฟทองคํามีเป้าหมายถัดไปอยู่ที่ระดับ $1953

ข่าว forex

การเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนของราคาทองคําในวันศุกร์ทะลุระดับ $1900 ที่สําคัญเช่นเดียวกับเส้น SMA 200 วันที่สําคัญ ($1929) การเคลื่อนไหวที่เฉียบพลันนี้เกิดขึ้นพร้อมกับจำนวนสัญญาคงค้างและปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้นและทำให้โอกาสเปิดกว้างในการวิ่งขึ้นต่อในระยะสั้นได้ แนวต้านถัดต่อไปที่บันทึกไว้ได้อยู่ที่ระดับสูงสุดในเดือนกันยายนที่ 1953 ดอลลาร์ต่อทรอยออนซ์ (1 กันยายน) ข่าว forex


ข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐฯ นํากลับมาเก็งกําไรจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดมากขึ้น (14 ตุลาคม 2566)

นักวิเคราะห์ที่ Danske Bank ให้พรีวิวการวิเคราะห์สั้น ๆ เกี่ยวกับตัวเลขเงินเฟ้อผู้บริโภคล่าสุดของสหรัฐฯ ที่เผยแพร่เมื่อวันพฤหัสบดี ซึ่งตอนนี้ดูเหมือนว่าจะฟื้นการคาดการณ์สําหรับการกระชับนโยบายเพิ่มเติมโดยธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)

ข้อความอ้างอิงสําคัญข่าว forex

“เหตุการณ์ใหญ่สําหรับมหภาคและตลาดทั่วโลกในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมาคือการเปิดเผยข้อมูล CPI เดือนกันยายนออกจากสหรัฐฯ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ที่ 0.3% จากเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีชี้วัดดังกล่าวอยู่ที่ 0.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่ระดับ 0.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน การเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาที่รุนแรงในตลาดตราสารหนี้ที่อัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นและเส้นโค้งขาลงซึ่งส่งผลต่อ ระดับการพยายามลงทุนเสี่ยงที่แย่ลงในสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ รวมถึง USD ที่แข็งค่าขึ้น”

“ในขณะที่ปฏิกิริยาของตลาดคือราคาในความน่าจะเป็นที่สูงขึ้นของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งจากธนาคารกลางสหรัฐ – ตอนนี้ราคาอยู่ที่ความน่าจะเป็นประมาณ 40% – เราเน้นความสําคัญของรายละเอียดเงินเฟ้อ แท้จริงแล้วมันเป็นที่พักพิงหลักที่โพสต์เพิ่มขึ้นอย่างน่าประหลาดใจหลังจากลดลงหลายเดือน ไม่เพียง แต่เราจะเห็นสัญญาณจากตัวชี้วัดอื่น ๆ ว่าการพุ่งขึ้นนี้ไม่น่าจะพิสูจน์ได้ว่าคงอยู่ แต่เรายังเน้นว่ามาตรการพื้นฐานของอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐอ้างถึงนั้นสอดคล้องกับการคาดการณ์อย่างเต็มที่ในเรื่องนี้เรายังคงเรียกร้องของเราว่าเราได้แตะจุดสูงสุดในอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ แล้ว” ข่าว forex


EURUSD ร่วงลงเมื่อเงินเฟ้อสหรัฐฯ คืนชีพ เพิ่มโอกาสที่เฟดจะดำเนินนโยบายการเงินเข้มงวดต่อ (12 ตุลาคม 2566)

  • ดัชนี CPI เดือนกันยายนของสหรัฐฯ พุ่งขึ้นสู่ระดับ 3.7% ซึ่งสูงกว่าตัวเลขประมาณการ ทำให้การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยกลับมาเป็นที่พูดคุยกันอีกครั้ง
  • EURUSD เคลื่อนลงผ่าน 1.0550 เพราะดอลลาร์สหรัฐได้รับแรงสนับสนุนท่ามกลางแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ
  • ท่าทีที่เป็นกลางของเจ้าหน้าที่ ECB ตรงกันข้ามกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายของเฟดที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งเพิ่มความตึงเครียดให้กับการเปลี่ยนเทรนด์ของ EURUSD

เงินยูโร (EUR) ร่วงลงมากกว่า 0.60% เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ (USD) หลังจากการรายงานอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่สูงกว่าคาดไว้ เหตุการณ์ดังกล่าวทําให้ EURUSD ลดลงต่ํากว่าตัวเลข 1.0600 สู่ระดับ 1.0550 ในขณะที่กำลังรายงานข่าวนี้อยู่

EURUSD ดิ่งลงต่ำกว่า 1.0600 เพราะข้อมูล CPI ของสหรัฐฯ สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ กระตุ้นโอกาสการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดที่อาจเกิดขึ้น

สํานักงานสถิติแรงงานสหรัฐฯ (BLS) รายงานว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของเดือนกันยายนเพิ่มขึ้น 3.7% YoY ซึ่งสูงกว่าประมาณการที่ 3.6% และไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า รายงานฉบับเดียวกันนี้เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้น 4.1% YoY ตามที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ดัชนี CPI พื้นฐานเพิ่มขึ้น 4.3% ในเดือนสิงหาคม หลังจากข้อมูลอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้นและราคาหุ้นลดลงเพราะนักลงทุนในตลาดคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก่อนสิ้นปี

CME FedWatch Tool แสดงให้เห็นความเชื่อของนักลงทุนในตลาดที่มองว่าโอกาสการปรับขึ้น 25 bps ของเฟดในการประชุมเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้นจาก 26.3% เป็น 35.7%

ข้อมูลอื่นๆ ระบุว่าจํานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสัปดาห์ที่แล้วเพิ่มขึ้น 209,000 ราย ต่ำกว่าการคาดการณ์ที่ 210,000 ราย แสดงให้เห็นว่าตลาดแรงงานสหรัฐยังคงร้อนแรง แม้ว่าจำนวนผู้ขอรับฯ จะลดลง แต่ก็แสดงให้เห็นว่าตลาดอรงงานกําลังมีความสมดุล

ก่อนหน้านี้ เจ้าหน้าที่เฟดบางคนมีท่าทีสนับสนุนนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายก่อนประกาศข้อมูลเงินเฟ้อล่าสุด ข้อมูลที่ออกมาอาจกระตุ้นให้เกิดการประเมินท่าทีของเฟดบางคนก่อนการประกาศข้อมูลดัชนี CPI อีกครั้ง

ทางฝั่งของยูโรโซน (EU) เจ้าหน้าที่ธนาคารกลาง ECB มีจุดยืนที่เป็นกลางมากขึ้น เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ตัวเลขเงินเฟ้อจากเยอรมนีลดลงอย่างรวดเร็วแม้ว่าจะยังคงสูงกว่าเป้าหมาย 2% ของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ข่าว forex

EURUSD: ระดับราคาทางเทคนิคที่สําคัญ


รายงานการประชุมของ FOMC อาจไม่สอดคล้องกับโอกาสการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ใกล้จะถึง (11 ตุลาคม 2566)

นักวิเคราะห์จาก TD Securities พรีวิวรายงานการประชุมนโยบายเดือนกันยายนของธนาคารกลางสหรัฐฯ เอาไว้ดังนี้

รายงานการประชุมอาจถูกปรับให้มีความแข็งกร้าวน้อยลง

“การตัดสินใจของ FOMC ในเดือนกันยายนของเฟดนั้นตรงกับการคาดการณ์ของตลาดด้วยการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25%-5.50% อย่างไรก็ตาม การคาดการณ์ในเดือนกันยายนและแนวทางนโยบายการเงินมีท่าทีแข็งกร้าวกว่าที่คาดการณ์ไว้”

“เราหวังว่ารายงานการประชุมจะให้ความกระจ่างเกี่ยวกับการอภิปรายที่ทําให้ FOMC ใช้ข้อความว่า “สูงขึ้นและนานขึ้นไปอีก” จากการความเป็นไปได้ล่าสุดที่อาจมีการปรับดอกเบี้ยสูงขึ้น ทำให้ข้อมูลในรายงานการประชุมอาจดูเก่า ดังนั้น ข้อมูลในรายงานการประชุมรอบนี้อาจถูกปรับให้ฟังดูมีความแข็งกร้าวน้อยลงท่ามกลางความเป็นจริงใหม่นี้” ข่าว forex


อาจยังจำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อ – ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ (11 ตุลาคม 2566)

มิเชล โบว์แมน ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) กล่าวในที่ประชุมกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ที่โมร็อกโกเมื่อวันพุธเกี่ยวกับนโยบายการเงินที่ยังคงมีความเข้มงวดในปัจจุบัน

ข้อความอ้างอิง

อัตราเงินเฟ้อยังคงสูงกว่าเป้าหมาย 2% ของ FOMC

ตลาดแรงงานยังคงตึงตัว

ปัจจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายอาจจําเป็นต้องเพิ่มขึ้นอีก

และคงมาตรการเข้มงวดไว้ระยะหนึ่งเพื่อให้อัตราเงินเฟ้อกลับสู่เป้าหมายเป้าหมาย

ปฏิกิริยาของตลาด

ดัชนีดอลลาร์สหรัฐยังคงรักษาโหมดการไซด์เวย์ลงใกล้ 105.75 โดยรอการประกาศข้อมูลที่นักลงทุนให้ความสนใจมากอย่าง PPI ของสหรัฐฯ และรายงานการประชุม FOMC เพื่อเป็นแรงผลักดันทิศทางการเคลื่อนไหวใหม่ ข่าว forex


จีนกำลังพิจารณามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่เพื่อให้ไปถึงเป้าการเติบโต (10 ตุลาคม 2566)

สํานักข่าวบลูมเบิร์กนิวส์รายงานเมื่อวันอังคารว่าจีนกําลังชั่งน้ําหนักมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่และการขาดดุลที่สูงขึ้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเติบโตประจําปี

แหล่งข่าวกล่าวเสริมว่า ทางการจีนกําลังเร่งออกตราสารหนี้ที่ออกโดยภาครัฐเพิ่มเติมอย่างน้อย 1 ล้านล้านหยวน (137.1 พันล้านดอลลาร์) สําหรับการใช้จ่ายในโครงสร้างพื้นฐาน เช่น โครงการอนุรักษ์น้ำ ข่าว forex

ปฏิกิริยาของตลาด

ข่าวกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนทำให้สินทรัพย์เสี่ยงปรับตัวสูงขึ้น เช่นเดียวกันกับสกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย คู่ AUDUSD พุ่งขึ้นเกือบ 35 pips จากรายงานข้างต้น ขึ้นทดสอบ 0.6430 ก่อนที่จะถอยกลับไปที่ 0.6420 ตอนนี้ AUDUSD ขยับตัวเพิ่มขึ้น 0.17% เมื่อเทียบเป็นรายวัน


เงินเฟ้อในเดือนกันยายนของประเทศไทยลดลงต่อ (10 ตุลาคม 2566)

นักเศรษฐศาสตร์กลุ่มธนาคารยูโอบีนายเอ็นริโก ตานูวิดจาจา (Enrico Tanuwidjaja) และนักเศรษฐศาสตร์นายสถิตย์ แถลงสัตยา (Sathit Talaengsatya) ประเมินตัวเลขเงินเฟ้อในประเทศไทยที่ประกาศเมื่อเร็วๆ นี้ว่า

ประเด็นสําคัญ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนกันยายนของไทยชะลอตัวลงอีกที่ 0.3% จากช่วงเดียวกันปีก่อน เทียบกับ 0.88% จากช่วงเดียวกันปีก่อนในเดือน ส.ค. โดยมีสาเหตุหลักมาจากการลดลงของราคาอาหารและสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้น 1.82% จากช่วงเดียวกันปีก่อน อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 0.63% จากช่วงเดียวกันปีก่อน จาก 0.79% จากช่วงเดียวกันปีก่อนในเดือน ส.ค. อัตราเงินเฟ้อทั่วไปต่ำกว่ากรอบเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ 1-3% นับตั้งแต่ มี.ค. 2023 ข่าว forex

อัตราเงินเฟ้อที่ลดลงในเดือนกันยายนมีสาเหตุสําคัญมาจากการอุดหนุนค่าพลังงานและค่าไฟฟ้าของรัฐบาลเพื่อช่วยบรรเทาค่าครองชีพ นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อด้านอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ติดลบเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 2 ปี เพราะราคาอาหารดิบลดลงอย่างมาก

ทางการคาดว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจะยังคงอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีสาเหตุหลักมาจากราคาอาหารที่ลดลง, มาตรการของภาครัฐในการบรรเทาค่าครองชีพ, อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น, ผลกระทบจากฐานดอกเบี้ยที่สูงในปีที่ผ่านมา, ในขณะเดียวกัน มีการตั้งข้อสังเกตว่าเงินเฟ้ออาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปสงค์ในประเทศที่แข็งแกร่งขึ้น, ราคาพลังงานโลก, ผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ อัตราเงินเฟ้อในเดือนกันยายนล่าสุดยืนยันมุมมองของเราว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจะยังคงอยู่ในระดับปานกลาง และเรายังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2023 ไว้ที่ 1.6% และจะดีดตัวขึ้นสู่ค่าเฉลี่ย 2.6% ในปี 2024


ข่าว forex ที่มา : exness analysis