โบรกเกอร์ A-book และ B-book

โบรกเกอร์ A-book และ B-book

โดยพื้นฐานแล้ว โบรกเกอร์ A-book และ B-book แตกต่างกันในลักษณะการดำเนินการคำสั่งซื้อขายของเทรดเดอร์ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่คล้ายกันคือทั้งโบรกเกอร์ A-book, B-book เป็นผู้มีส่วนร่วมในตลาด โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างเทรดเดอร์กับองค์กรผู้ดูแลสภาพคล่อง โบรกเกอร์ส่วนใหญ่ไม่ได้จัดอยู่ในหมวดหมู่ A-book หรือ B-book โดยตรง แต่จะจัดการตลาดในรูปแบบผสมผสานที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละแห่ง

โบรกเกอร์ A-book และ B-book

โบรกเกอร์ A-book

โบรกเกอร์ A-book ได้กำไรส่วนใหญ่จากค่าคอมมิชชั่นด้วยการส่งต่อคำสั่งซื้อขายไปยังโบรกเกอร์ระดับ Prime หรือองค์กรผู้ดูแลสภาพคล่อง โบรกเกอร์ A-book เป็นโบรกเกอร์แบบ DMA (การเข้าถึงตลาดโดยตรง) ซึ่งช่วยให้เทรดเดอร์สามารถเข้าสู่ตลาด แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของบันทึกประวัติรายการซื้อขายเอง โบรกเกอร์ A-book ไม่ได้เป็นคู่สัญญากับเทรดเดอร์ของตนเอง ดังนั้นจึงให้ความยุติธรรมในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม โบรกเกอร์ A-book ถือเป็นประตูผ่านทางที่มีค่าธรรมเนียมระหว่างเทรดเดอร์ ซึ่งเป็นผู้บริโภคกับผู้ดูแลสภาพคล่อง ซึ่งไม่จำเป็น นอกจากนั้น โบรกเกอร์ A-book ไม่ได้ให้บริการสภาพคล่องแก่คำสั่งซื้อขายที่ตนเป็นโบรกเกอร์

โบรกเกอร์ B-book

โบรกเกอร์ B-book ได้กำไรส่วนใหญ่จากผลขาดทุนของลูกค้า โดยทำหน้าที่เป็นคู่สัญญาในทุกคำสั่งซื้อขายที่ตนให้บริการ โบรกเกอร์ B-book ให้บริการสภาพคล่องและจับคู่คำสั่งซื้อขายภายในองค์กร แต่อาจลดความเสี่ยงของตนเองด้วยการ hedging คำสั่งซื้อขายกับองค์กรผู้ดูแลสภาพคล่องหากคำสั่งซื้อขายมีขนาดใหญ่เกินไป ผู้คนบางส่วนโต้แย้งถึงประเด็นผลประโยชน์ทับซ้อนของโบรกเกอร์ B-book เนื่องจากจะได้กำไรมากที่สุดเมื่อลูกค้าของโบรกเกอร์ขาดทุน อย่างไรก็ตาม ด้วยสเปรดที่ต่ำมากและเงื่อนไขการเทรดที่ดีจนเหลือเชื่อ จึงมักดึงดูดเทรดเดอร์ที่กล้าเสี่ยงมากกว่าได้

ผู้ดูแลสภาพคล่อง

ผู้ดูแลสภาพคล่องอย่าง Exness ให้บริการสภาพคล่องแก่คำสั่งซื้อขายและได้กำไรส่วนใหญ่จากสเปรดที่เรียกเก็บจากคำสั่งซื้อขาย ผู้ดูแลสภาพคล่องไม่ได้เป็นผู้มีส่วนร่วมในตลาด แต่มีอิทธิพลอย่างมากต่อตลาด เนื่องจากเป็นผู้สร้างสภาพคล่องที่เพียงพอที่จะปรับเปลี่ยนความเชื่อมั่นและแนวโน้มของตลาดได้ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อผู้ดูแลสภาพคล่อง ผู้ดูแลสภาพคล่องมีบันทึกประวัติรายการซื้อขายของตนเอง ซึ่งหมายความว่าสามารถตั้งราคาและสร้างความโปร่งใสในข้อมูลต่างๆ เช่น ราคา ความพร้อมให้บริการ และอีกมากมายสำหรับเครื่องมือการซื้อขายของตน

สภาพคล่อง หมายถึง ขอบเขตที่ตลาดอนุญาตให้มีการซื้อขายสินทรัพย์ ณ ราคาที่เสถียรและโปร่งใส ตลาดที่มีสภาพคล่องสูงจะมีปริมาณการซื้อขายสูง หากตลาดไม่มีสภาพคล่อง ก็จะเทรดได้ยาก

การเปรียบเทียบโดยสรุป

โบรกเกอร์ A-book และ B-book

ข้อมูลโบรกเกอร์ A-book และ B-book จาก exness.com